"ญี่ปุ่น" หนุนไทยเข้าร่วม CPTPP
ท่ามกลางข้อกังวลและกระแสคัดค้านการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP
เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.63เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เข้าพบกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบ CPTPP ของสภาฯ เพื่อให้ข้อมูลสนับสนุน ในฐานะประเทศที่เข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โดยยืนยันว่าไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีการเก็บเมล็ดพันธุ์พืชอย่างที่หลายฝ่ายในไทยกังวล
ซึ่งกลุ่ม FTA Watch ไม่รู้สึกแปลกใจ เพราะญี่ปุ่นได้ประโยชน์จากการที่ไทยเข้าร่วม CPTPP แต่นี่อาจเป็นสัญญาณว่าการคัดค้านเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีหลายกลุ่มทุนสนับสนุน ไปติดตามจากรายงาน คุณวชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย ค่ะ
ตัวเลขบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่ตั้งฐานการผลิตในไทยกว่า 5,000 แห่ง สะท้อนได้ดีถึงท่าทีหลายครั้งของญี่ปุ่นที่ผลักดันให้ไทยเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP เพราะย่อมส่งผลต่อนักธุรกิจส่งออกญี่ปุ่นในไทย ทั้งอัตราภาษีที่ลดลง และการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ หากไทยเข้าร่วม CPTPP
เช่นเดียวกับล่าสุด ที่นายนะชิตะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่นประจำราชอาณาจักรไทย เข้าพบประธานกรรมาธิการศึกษาผลกระทบ CPTPP ที่รัฐสภาเพื่อให้ข้อมูลสนับสนุน การเข้าร่วมข้อตกลงหุ้นส่วนการค้า ที่กำลังอยู่ในชั้นศึกษาผลกระทบ
นายนะชิตะ บอกว่าญี่ปุ่นเข้าร่วม CPTPP มา 7 ปี ไม่เคยมีคดีฟ้องร้องฐานละเมิดลิขสิทธิ์กับเกษตรกรทั้งเรื่องสิทธิบัตรพันธุ์พืช และสิทธิบัตรยา จึงไม่อยากให้คนไทยต้องกังวลในประเด็นนี้
ซึ่งสวนทางอย่างสิ้นเชิง กับความเห็นของ รองประธานกลุ่มเอฟทีเอวอทช์ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญฯศึกษาผลกระทบ CPTPP
ขณะที่ประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบ CPTPP ซึ่งเป็นตัวแทนจากพรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า หลังเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น เข้าพบ ทำให้ประเด็น อนุสัญญา UPOV ว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ที่กำลังมีการถกเถียงกันชัดเจนมากขึ้น
ประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบ CPTPP บอกด้วยว่าจะสรุปผลการศึกษาเสนอต่อรัฐสภาก่อนส่งมติไปยังคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 กรกฎาคมนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น