"คนจน" เป็นเงื่อนไข! ไม่ใช่ผลกระทบการพัฒนา
คนจนไม่อาจมองในมิติเดียวเพราะใครๆก็เป็นคนจนได้ความจนจึงเท่ากับการเข้าไม่ถึงทรัพยากรคือความเปราะบาง ไม่อาจเหมารวมว่าคนจนคือผลกระทบจากการพัฒนาจะอาจเป็นเงื่อนไขในการพัฒนา
ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นในงานวิจัย กล่าวว่า คนจนคืออะไรยังไม่เห็นในงานวิจัย แต่ดูเหมือนว่าจะจัดคนจนในรูปแบบของพื้นที่อยู่อาศัย จึงควรต้องมีการนิยามให้ชัดในงานวิจัยซึ่งน่าจะยากเหมือนกัน เพราะว่าคนจนแตกต่างกันมาก
อีกหัวข้อหนึ่งที่ควรจะทำเพิ่มก็คือการก่ออาชญากรรมในชุมชน อาจเป็นสาเหตุให้ต้องถูกไล่รื้อจริงหรือไม่ ยกตัวอย่างเหตุผลของการรื้อป้อมมหากาฬ เพราะอ้างเรื่องของการก่ออาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ในงานวิจัยนี้จะเห็นได้ชัดว่าพูดถึงเรื่องคนจนเป็นเรื่องโรแมนติกเหมือนเขียนนิยายใช้ภาษาสวยงาม เรามีเราจำเป็นจะต้องมีท่าทีพิเศษเพื่อกล่าวถึงคนจนเพื่อให้เกิดการยอมรับหรือไม่
"อันที่จริงทุกคนมีมิติของความเปราะบางโครงการบางโครงการก็ทำให้คนจนไปได้เลยหรือวิกฤตโควิดเข้ามา ก็ทำให้หลายคนจนลงไป ความยากจนไม่จำเป็นต้องอยู่ในสลัม แต่คือความเปราะบางที่เข้าไม่ถึงทรัพยากร"
ข้อค้นพบว่า คนจนหาพื้นที่ในเมืองได้ง่ายเพื่อลดต้นทุน เป็นข้อค้นพบที่แหลมคมแต่ก็เป็นเรื่องอันตราย เพราะอีกแง่หนึ่งคนจนก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะอยู่ตรงนั้น ในความเป็นเจ้าของที่ของคนรวยที่ถูกรุกที่ เรื่องความยุติธรรมจึงมีหลายเวอร์ชั่น
อีกคำถามที่อยากรู้คือ คนจนที่ลงไปสำรวจเขาเรียกตัวเองว่าคนจนหรือไม่ และอยากดูต่อว่าที่ว่าคนจนมีเงินเพิ่มขึ้น เขามีหนี้สินซับซ้อนขึ้นตามไปด้วยหรือไม่ เพราะมันมีทฤษฎีเรื่องเงินไหลกลับเข้าทุนนิยม
คนจนก็ถือว่าเป็นลูกค้าในระบบทุนนิยมด้วยเหมือนกันการที่เขามีเงินจ่ายเพิ่มมากขึ้นก็ทำให้ เงินไหลกลับเข้าไปสู่ทุนใหญ่ เหมือนอย่างบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
"เราอาจจะไม่สามารถมองคนจนในมิติเดียวว่า ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา เพราะการพัฒนาเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น จริงๆคนจนเป็นเหตุของการพัฒนา ไม่ใช่เพียงแค่ผลกระทบของการพัฒนา แต่คนจนเป็นเงื่อนไขของการพัฒนาด้วย"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น