ความคืบหน้าก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สุวรรณภูมิ

AOT รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ภาพรวมแผนการดำเนินงานแล้วเสร็จประมาณ 95.23%
คงเหลืองานตกแต่งภายใน และทดสอบระบบต่างๆ

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT กล่าวว่า ตามที่ AOT ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร SAT-1 ทสภ. ของโครงการพัฒนา ทสภ. ระยะ 2 ปัจจุบันมีภาพรวมแผนการดำเนินงานแล้วเสร็จประมาณ 95.23% 

งานก่อสร้างโครงสร้างอาคารแล้วเสร็จทั้งหมดแล้ว 100% แต่ยังคงเหลือการดำเนินการด้านงานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน งานภูมิทัศน์ และติดตั้งระบบประกอบอาคารฯ สำหรับรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) มีความคืบหน้าประมาณ 71.43% ซึ่งขณะนี้ AOT ได้รับรถไฟฟ้าฯ มาแล้ว 2 ขบวน (จากทั้งหมด 
6 ขบวน) 
โดยอยู่ระหว่างการทดสอบการใช้งานด้วยระบบไฟฟ้า (Static Test) ส่วนรถไฟฟ้าฯ อีก 4 ขบวนอยู่ระหว่างดำเนินการผลิต และจะทยอยส่งมอบในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2563 เมื่อรับรถไฟฟ้าฯ ครบทั้งหมดแล้ว จะเริ่มทดสอบระบบร่วมกันอีกครั้ง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4 เดือน คาดว่าจะพร้อมบริการได้ประมาณเดือนเมษายน 2564 

ในส่วนของระบบสายพานลำเลียงกระเป๋ามีความคืบหน้าดำเนินการประมาณ 75.51% อยู่ระหว่างติดตั้งระบบ Individual Carrier System (ICS) และ Make-up Carousels รวมทั้งเชื่อมต่อระบบ High Level Control โดยเมื่อดำเนินการ
แล้วเสร็จ หลังจากนี้จะเป็นการทดสอบระบบโดยใช้เวลาประมาณ 12 เดือน 
สำหรับงานก่อสร้างอาคารสำนักงานสายการบินและที่จอดรถด้านทิศตะวันออก ขณะนี้กำลังก่อสร้างโครงสร้าง
ชั้นใต้ดินและพื้นชั้น 2, 3, 4 ของอาคารสำนักงาน และพื้นชั้น 6 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2563 และจะมีงานระบบประกอบอาคารของอาคารจอดรถ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนเมษายน 2564
นายนิตินัย กล่าวในตอนท้ายว่า เมื่อการดำเนินการด้านต่างๆ ของอาคาร SAT-1 แล้วเสร็จ 

หลังจากนั้น จะทดสอบการเตรียมความพร้อมการเปิดให้บริการ (Operation Readiness and Airport Transfer : ORAT) โดยคาดว่าจะทำการทดสอบระบบการปฏิบัติงานต่างๆ ร่วมกันแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2565 อย่างไรก็ตาม ภาพรวมโครงการพัฒนา ทสภ. ระยะ 2 มีความล่าช้า มีสาเหตุมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้จำนวนแรงงานลดลง ไม่สามารถนำเข้าวัสดุ/อุปกรณ์ที่ผลิตจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในโครงการได้ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศไม่สามารถเดินทางมาให้คำปรึกษาดำเนินการติดตั้ง และร่วมทดสอบการทำงานร่วมกันของระบบอุปกรณ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในอนาคต AOT ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาสนามบินในความรับผิดชอบให้มีความพร้อมให้บริการผู้โดยสารด้วยมาตรฐานเหนือระดับ ซึ่งจะนำพาองค์กรสู่การเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หมอมานพ แจงยิบ! เงื่อนไขใหม่ “มะเร็งรักษาทุกที่” ทำไมต้องมีใบส่งตัว

บัตรทอง ใช้งบผิดทาง ปลายปิดกับรพ.ใหญ่ ปลายเปิดกับร้านยา

“คลินิกชุมชนอบอุ่น” ยันได้ค่าเหมาจ่ายรายหัวบัตรทอง 10 บาท จริง!