ชงมาตรการ​ area quarantine​ กระตุ้น​เศรษฐกิจ​

สส.เชียงรายเสนอ​ จำกัดพื้นที่ฟื้นการค้าชายแดน ชี้​ ระบบสาธารณสุขรองรับ​ มีองค์ความรู้มากพอ ย้ำ ชาวบ้านไม่กลัวติดโรค​ แต่กลัวไม่มีกิน

9​ ธ.ค.​ 63​ นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ​ ส.ส.จังหวัดเชียงราย​ เขต 1 กล่าวว่า​การเตรียมความพร้อมของระบบสาธารณสุขสะท้อนถึงองค์ความรู้เรื่องโรคระบาด covid-19 ที่มีมากขึ้นจากการระบาดครั้งก่อนหลายคนยังจำความเจ็บปวดได้ถึงผลกระทบจากการล็อกดาวน์​ เมื่อเกิดการพบติดผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนอีกครั้งก็เกิดความกลัว​ แต่ความกลัวของคนส่วนใหญ่​ คือกลัวจะตกงานกลัวจะไม่มีกินเหมือนครั้งก่อน ตรงนี้ต้องหาจุดสมดุลให้ได้ เพราะยังไงต้องทำให้คนรู้สึกว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะไม่เป็น​ 0​ อีกต่อไป​ 

"การบริหารจัดการโครงการในต่างประเทศหลังจากผ่านช่วงล็อกดาวน์​ครั้งแรกไป​ คือการปรับตัวที่จะอยู่กับเชื้อ​ให้ได้​ เพราะทุกคนเพราะทุกประเทศต่างๆปรับตัวที่จะอยู่ร่วมกับเชื้อได้​ สำหรับประเทศไทยถ้าเปรียบเป็นคนไข้หากนอนซมเป็นผู้ป่วยติดเตียงนาน​ ก็จะฟื้นตัวยาก" 

เราอาจต้องอยู่กับ​ covid-19​ ไปอีก 2 ปีแม้จะมีวัคซีนแต่ก็ต้องครอบคลุมประชากรให้ได้ทั้งหมด 80 % ถึงจะหยุดการระบาด ขณะนี้ประเทศโดยรอบวาง แผนในการเปิดประเทศให้มีการติดต่อเชื่อมผ่านไปมาได้ แต่ประเทศไทยยังปิดพรมแดน มันเป็นเรื่องผิดธรรมชาติมากๆ​ วิถีชีวิตคนชายแดนเดินข้ามไปมา ทำให้เกิดการลักลอบเข้า​ การเปิดพรมแดนหรือมีช่องทางพิเศษที่จะรับคนเข้ามาผ่านกระบวนการกัดตัวนั้นจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว

 นอกจาก State quarantine แล้วในเชิงธุรกิจอาจทำเป็น area quarantine เหมือนอย่างในต่างประเทศที่สโมสรฟุตบอลมักทำกัน​ ท​ำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในช่วงการแข่งขัน ซึ่งจะต้องมีการตรวจเชื้อก่อนเข้ามาในพื้นที่และในระหว่างที่อยู่ในพื้นที่ไม่ใช่การกักตัว แต่เป็นการจำกัดพื้นที่เอาไว้ให้สามารถทำกิจกรรม​ต่างๆ​ ซึ่งส่งผลดีทางเศรษฐกิจ​ ทั้งนี้รูปแบบดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับจากชุมชน​ และให้ชุมชนมีส่วนร่วม 

สำหรับจังหวัดเชียงราย​ สัดส่วนของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทย และชาวจีน แต่ชาวจีนไม่ได้มีผลกระทบกับเชียงรายมากเท่าเชียงใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นการจะเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระหว่าง 3 พรมแดนคือไทย​ เมียนมา​ และลาว

สำหรับข้อมูลล่าสุด​ กระทรวง​สาธารณสุข​ ระบุภาพรวมเขตสุขภาพที่ 1 มีทรัพยากรรองรับ อาทิ ห้องแยกความดันลบ 215 ห้อง ห้องแยกโรค 304 ห้อง ICU และ NICU 517 เตียง โรงพยาบาลสนาม 1,741 เตียง (กรณีมีการระบาด) มีสถานที่กักกัน 29 แห่ง รองรับได้ 2,083 คน มีหน้ากากอนามัย จำนวน 5.1 ล้านชิ้น หน้ากาก N95 จำนวน 5 หมื่นกว่าชิ้น Face shield 1.2 แสนชิ้น Cover all จำนวน 6.5 หมื่นชุด เสื้อกาวน์กันน้ำ จำนวน 2.9 หมื่นชุด ถุงมือยาง จำนวน 1.8 ล้านชิ้น เพียงพอต่อการใช้งานมากกว่า 3เดือน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หมอมานพ แจงยิบ! เงื่อนไขใหม่ “มะเร็งรักษาทุกที่” ทำไมต้องมีใบส่งตัว

บัตรทอง ใช้งบผิดทาง ปลายปิดกับรพ.ใหญ่ ปลายเปิดกับร้านยา

“คลินิกชุมชนอบอุ่น” ยันได้ค่าเหมาจ่ายรายหัวบัตรทอง 10 บาท จริง!