"นักไวรัสวิทยา" ห่วงโควิด-19 สายพันธุ์บลาซิล ดื้อวัคซีน
นักไวรัสวิทยา สวทช. ชี้ วัคซีนปัจจุบันไม่ป้องกัน โควิด-19 สายพันธุ์บราซิล แนะเร่งวิจัยวัคซีนต้นแบบให้ทันกับการกลายพันธุ์ เผยนักวิจัยไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก คิดได้ก่อนแต่ขาดโครงสร้างพื้นฐานรองรับการผลิตวัคซีนครบวงจร ทำให้ผลิตวัคซีนได้ล่าช้ากว่าประเทศอื่น
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สวทช. กล่าวกับ The Activeว่า แม้วัคซีนโควิด-19 จะถูกผลิตขึ้นสำเร็จ แต่ไวรัสที่มีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ก็ยังทำให้เกิดความกังวล ว่าต้องวิจัยวัคซีนต้นแบบใหม่สำหรับไวรัสที่กลายพันธุ์ โดยเฉพาะตอนนี้มีสายพันธุ์จากอังกฤษ (501Y V.1) ที่ติดเชื้อได้ง่ายแต่อาการไม่รุนแรง แต่นักวิจัยวัคซีนยังยืนยันว่าวัคซีนที่คิดค้นตอนนนี้สามารถป้องกันได้ แต่อีกสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงก็คือสายพันธุ์บราซิล (501Y V.2). วัคซีนอาจไม่ครอบคลุม สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ แม้จะฉีดวัคซีนไปแบ้ว แต่ปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์บลาซิล ยังมีไม่มาก
"เพราะไม่สามารถทำนายการกลายพันธุ์ได้ล่วงหน้าจึงจำเป็นต้องเริ่มวิจัยวัคซีนต้นแบบให้อัพเดท ทันเวลาที่กลายพันธุ์อยู่เสมอ จึงจะสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่ตอบรับกับการกลายพันธุ์ได้อย่างทันท่วงที"
ดร.อนันต์ กล่าวอีกว่า จริงๆแล้วนักไวรัสวิทยาในประเทศไทยก็สามารถที่จะคิดวัคซีนโควิด-19 ได้รวดเร็วและทันพอๆกับนักไวรัสวิทยาในต่างประเทศ แต่ติดปัญหาตรงที่ประเทศไทยยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐาน ห่วงโซ่การผลิตวัคซีนอย่างครบวงจร ยกตัวอย่างเช่น มีหน่วยงานอย่างไบโอเทค ในการวิจัยวัคซีนต้นแบบ แต่เมื่อวิจัยได้แล้ว ไม่มีสถานที่ทดลองในสัตว์อย่างถูกต้อง หรือมีจำนวนน้อยประเทศไทยมีเพียงแค่ 2 แห่ง ต้องไปต่อคิวกับหน่วยงานอื่นๆที่วิจัยวัคซีนต้นแบบไปพร้อมกัน ทำให้เกิดความล่าช้าและเมื่อ ทดลองในสัตว์ เสร็จแล้วจะเริ่มทดลองในมนุษย์ก็ไม่มีโรงงานผลิตวัคซีน หรือมีจำนวนน้อย ดังนั้นการทดลองวัคซีนในอาสาสมัครมนุษย์จำนวนหลายหมื่นคน จึงทำได้ยาก และช้ากว่าประเทศอื่นที่สามารถคิดค้นวัคซีนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานพร้อม
"โควิด-19 ถือเป็นโอกาสในการสร้างความมั่นคงทางวัคซีนให้กับประเทศไทย ซึ่งมีต้นทุนจากการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่เดิมอยู่แล้ว โดยล่าสุดรัฐบาลได้มีการทุ่มงบประมาณให้กระทรวงการอุดมศึกษาวิจัยและนวัตกรรม ใช้สำหรับวิจัยวัคซีนต้นแบบ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานในห่วงโซ่การผลิตวัคซีนให้ครบวงจร เพราะเชื่อว่าในอนาคตจึงต้องมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นตามมาอีก หรือแม้แต่กระทั่งการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาที่อาจจะต้องมีการวิจัยวัคซีนต้นแบบเพื่อให้ทันกับการกลายพันธุ์ของโควิด-19 หลังจากนี้ด้วย"
สำหรับการผลิตวัคซีนในประเทศไทย ปัจจุบันมีอยู่ 4 หน่วยงาน ได้แก่องค์การเภสัชกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ไบโอเทค สวทช. ทำไรก็ตามคาดว่า วัคซีนโดยคนไทยที่จะสำเร็จได้ก่อนใครน่าจะเป็นของ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่คาดว่าจะผลิตได้ในปลายปีนี้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกัน กับการผลิตวัคซีน astrazeneca ส่วนวัคซีนของไบโอเทค คาดว่าจะเริ่มทดสอบในคน เดือนเมษายนนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น