ควบคุมโรคไม่ได้ อาจฟื้นเศรษฐกิจไม่ได้ โจทย์ใหญ่ล็อกดาวน์กรุงเทพฯ

แพทย์ ยันล็อกดาวน์คือการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในขณะนี้ เปิดข้อมูลเตียงใกล้วิกฤต ท่ามกลายการผ่อนคลายมาตราการ แม้เตียงเพิ่มได้และเพิ่มบุคคลากรทางการแพทย์ไม่ได้ จ่อให้ Home isolation หาก กทม.มีผู้ติดเชื้อ4,000 คนต่อวัน 




จํานวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ครองเตียงเพิ่มขึ้นถึง 6,000 เตียง ภายใน 1 เดือนเมื่อเปรียบเทียบระหว่างวันที่ 23 .. 64 มีจำนวนครองเตียง 18, 669 เตียง​ ขณที่วันที่ 22 มิ.. 64 เพิ่มขึ้นเป็น 24,139 เตียง แต่ยังใช้บุคลากรทางการแพทย์เท่าเดิมที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือเตียงระดับ 3 หรือสำหรับผู้ป่วยสีแดง ที่มีอาการหนักต้องเข้าห้องไอซียู จากเดือนเมษายนมีเพียง 211 เตียง ปัจจุบัน เพิ่มขึ้น 437 เตียง


ข้อมูลการบริหารจัดการเตียงเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เริ่มตึงตัวและมีแนวโน้มไม่เพียงพอ หากจำนวนผู้ติดเชื้อเฉพาะในกรุงเทพมหานครยังอยู่ที่ 1,000 คือสิ่งที่ “นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์” อธิบดีกรมการแพทย์นำเสนอต่อผู้กำหนดนโยบาย พร้อมระบุว่ามาตรการที่ผ่อนคลายมาเรื่อยๆ ก็คาดเดาได้ว่าผู้ติดเชื้อน่าจะไม่ลดลง ทั้งยังมีปัญหาแรงงานข้ามชาติลักลอบหลบหนีเข้าเมืองอยู่อย่างเนืองๆ หากมาตรการยังไม่เข้มข้นก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้


ขณะที่วัคซีนยังฉีดได้ไม่มากถึง 70% เพื่อจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ หรือถึงแม้จะฉีดวัคซีนไปแล้วแต่ก็เห็นบทเรียนจากประเทศอิสราเอลที่ถอดหน้ากากอนามัยทำให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการทางสังคมยังต้องทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง


ตัวเลขผู้ติดเชื้อรอบ 7 วัน บ่งชี้ว่าเข้าสู่การระบาดระลอก 4


การระลอก 2 ระลอก 3 และรอบนี้จะเป็นระลอก 4 นั้นแทบแยกกันไม่ออก โดยระลอก 3 เริ่มต้นที่สถานบันเทิงย่านทองหล่อ “นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล” นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระบุว่าขณะนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการระบาดระลอก 4 ก็ได้เพราะการเพิ่มจำนวนของผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็ว และไม่ลดลง ทั้งยังมีสายพันธุ์อื่นที่ที่เริ่มควบคุมไม่ได้ในรอบ 7-10 วันที่ผ่านมาเป็นลักษณะการระบาดที่ต่างไปจากระลอกที่ 3


ทุกวันนี้คนไข้โควิด-19 มีจำนวน 5% ขณะที่อีก 95% ที่ไม่ใช่คนไข้โควิดถูกเบียดบังจากการเลื่อนตรวจต่างๆที่เราไม่เคยพูดถึง เราจะยอมทนรับมือโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ขณะที่เราใช้บุคลากรทางการแพทย์แผนกอื่นมาผันตัวมาช่วย 10-15% รับมือกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีเพียง 5% มันถูกต้องหรือ 


เราอยู่กับปลายเหตุจึงอยากชวนกลับมามองว่า ต้นตอของปัญหาคืออะไร แล้วจะยอมเบ่งเตียง เพิ่มภาระแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่มีเท่าเดิม เพื่อแบกรักผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างไม่มีที่สิ้นสุด หรือจะต้องกลับมาทบทวน แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ” 




นี่จึงเป็นที่มาของการเสนอให้ล็อกดาวน์กรุงเทพฯ อย่างจริงจัง ถ้าจะให้ได้ผลจริงๆต้องใช้เวลา 14-28 วัน และระงับทำให้เกิดการเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด ในทางวิชาการยอมรับว่าการล็อคดาวน์ได้ผล เห็นได้จากการควบคุมการระบาดระลอกแรก แต่ครั้งนี้น่าจะมีความยากมากกว่า เพราะฐานการระบาดใหญ่กว่าเฉพาะกรุงเทพฯมีผู้ติดเชื้อ 1,000 คนต่อวัน และยังตรวจไปไม่ครบ ที่เห็นอยู่อาจเป็นเพียงภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งก็ยอมรับว่าไม่มีวิธีอื่นในตอนนี้ที่จะควบคุมโรคได้มีประสิทธิภาพเท่ากับการล็อกดาวน์


ดึงแพทย์ประจำบ้านช่วยงานโควิด-19 เตรียมระดมพยาบาลต่างจังหวัด


อย่างไรก็ตาม “อธิบดีกรมการแพทย์” ยังคงระบุถึงแผนในการเพิ่มเตียงรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ระดับ 3 คือไอซียูโดยจะอาศัย ทรัพยากรสุดท้ายก็คือโรงเรียนแพทย์ 3 แห่งได้แก่รพ.ธรรมศาสตร์ ,รพ.รามาธิบดีรพ.วชิรพยาบาล ที่มีศักยภาพพร้อมเป็นไอซียูถึง 50 เตียงภายใน 1-2 วันแต่ยังไม่มีบุคลากร โดยอาจนำบุคลากรที่เป็นแพทย์ประจำบ้าน ที่ต้องส่งไปใช้ทุนในต่างจังหวัดให้มาทำงานช่วยสถานการณ์โควิด-19 ในกรุงเทพฯก่อน และระดมพยาบาลจากต่างจังหวัดเข้ามาช่วยห้องไอซียู 



ส่วนเตียงสีเหลืองขอให้กทมเปลี่ยนเตียงสีเขียวจากโรงพยาบาลราชพิพัฒน์บางขุนเทียน เป็นเตียงสีเหลือง และใช้ Hospotel สำหรับผู้ป่วยสีเขียวให้มากขึ้นและแผนสุดท้ายคือให้รักษาตัวที่บ้านหรือ Home isolation เบื้องต้นผู้ป่วยสีเขียวรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเพียง 10 แล้วกลับไปรักษาตัวที่บ้านอีก 4 วัน จะช่วยลดวันอยู่ในโรงพยาบาลได้แต่ก็ต้องดูความพร้อมรายบุคคลว่าจะสามารถอยู่คนเดียวได้หรือไม่โดยไม่ออกไปข้างนอก หากเป็นกลุ่มแรงงาน หรือโรงงานก็ใช้แผน bubble and seal เปิดโรงพยาบาลสนามในพื้นที่อย่างที่ทำไปแล้วในหลายคลัสเตอร์


หากมีผู้ป่วย 4,000 ต่อวันเตรียมใช้ Home isolation


นพ.สมศักดิ์” ระบุว่าหากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้ มีผู้ติดเชื้อ 10,000 คนต่อวัน และกรุงเทพมหานครมีผู้ติดเชื้อถึง 4,000 คน จำเป็นต้องทำ Home isolation โดยจากข้อมูลพบว่า 3% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเป็นผู้ป่วยหนัก ทุกวันนี้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกรุงเทพมหานครมีจำนวน 1,000 คนต่อวัน ก็หมายความว่าจะมีผู้ป่วยหนักอยู่จำนวน 30 คนที่ต้องใช้เตียง ไอซียู ซึ่งขณะนี้ถือว่าไกล้เต็มศักยภาพ 400 เตียงที่มีอยู่ และผู้ป่วยหนักจะต้องใช้เวลาอยู่ในห้องไอซียูยาวถึง 2 สัปดาห์ 


ถ้ากรุงเทพฯติดเชื้อ 2,000 คน นั่นหมายความว่าต้องใช้เตียงไอซียู 60 เตียงต่อวัน 14 X 60 = 800 เตียงที่ต้องมี หากถึงจุดการอาจต้องเอาคนไข้กระจายไปอยู่ในต่างจังหวัด แม้จะมีแผนจัดการได้ แต่สิ่งที่จัดการไม่ได้คือบุคลากรจะหมดแรง” 


ที่น่ากังวลมากที่สุดในตอนนี้ คือเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจังหวัดที่พบผู้ป่วยรายใหม่เป็น 0 ยังมีมากกว่า 20 จังหวัด แต่ปัจจุบันจังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่มีไม่ถึง10 จังหวัดแล้ว นั่นหมายความว่าเชื้อกระจายไปเกือบทั่วประเทศ


หนุนฉีดวัคซีนลดผู้ป่วยหนัก พยุงระบบสาธารณสุข 


การประคับประคองระบบสาธารณสุขการ และสร้างสมดุลต่อการดูแลผู้ป่วยที่ไม่ใช่โควิด-19 ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน “นพ.นิธิพัฒน์” กล่าวว่าคิดเอาว่าถ้าพี่น้องของเราป่วยด้วยโรคอื่นที่ไม่ใช่โควิด-19 แต่ไม่สามารถที่จะใช้ห้องไอซียูได้เพราะต้องใช้ไปกับผู้ป่วยโควิด-19 จะรู้สึกอย่างไร 


หากไม่ล็อกดาวน์ จะมีเครื่องมือใดบ้างที่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น วัคซีนที่ดูเหมือนเคยเป็นความหวัง แต่ยังฉีดได้น้อยอยู่ ก็ยังไม่ทันกับการระบาดใน 1 เดือนหลังจากนี้ แต่ข้อดีของการฉีดวัคซีน แม้เป็นวัคซีนซิโนแวคที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างน้อยก็ทำให้ผู้ป่วยหนักลดลง 


จากกรณีการระบาดในโรงพยาบาลเชียงรายที่มีบุคลากรทางการแพทย์ ติดเชื้อ41 คน 75% ไม่มีอาการ 25% มีอาการเป็นไข้ คั่นเนื้อคั่นตัวก็ยังถือว่าอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว และมีเพียง 1 รายที่มีฝ้าในปอดแต่ไม่พบปอดอักเสบก็ยังถือว่าอยู่กลุ่มเขียวเข้ม แต่ถึงแม้จะฉีดวัคซีนแล้ว ก็ห้ามการ์ดตก คนให้ความหวังกับวัคซีนมากเกินไป ต้องทำความเข้าใจว่าวัคซีนไม่ใช่เครื่องมือเดียวที่จะยุติโควิด-19


ที่เสนอล็อคดาวน์เพราะเป็นสิ่งที่แพทย์ต้องพูด พูดตามหลักวิชาการ แม้จะมีคนบอกว่าหมอบอกให้ล็อคดาวน์ก็หาทางเยียวยาด้วย ถ้าพูดแบบปัสสวะ ก็คือไม่ใช่หน้าที่หมอ แต่ความเป็นจริงแล้วในสังคมอารยะทุกคนควรจะพูดในสิ่งที่ตนคาดหวัง เพื่อให้เกิดข้อถกเถียง นำข้อมูลข้อเท็จจริงมาพูดคุยกัน นำไปสู่การหาทางออกที่ดีที่สุด” 


ด้าน “นพ.สมศักดิ์” กล่าวว่าผู้กำหนดนโยบายคงต้องคำนึงถึงผลกระทบทุกด้านต้องคิดถึงผู้ป่วยหนักโรคอื่นๆ เสียโอกาสกับการทุ่มกำลังให้กับโรคโควิด-19 กันไปมากน้อยแค่ไหน ต้องคิดว่าเราจะเจ็บหนักทีเดียวจบหรือไม่ หรือปล่อยไว้ให้เสียหายหนักกว่าเดิม รอบแรกเราสำเร็จได้เพราะทุกคนเห็นร่วมกัน


Health is Great wealth แต่ถ้าทุกคนบอกว่า wealth is wealth ไม่ใช่ Health ก็คงต้องเลือก แต่ผมคิดว่าถ้ามี Health ยังหา wealth ได้ แต่ถ้ามีแต่ wealth  ไปได้จริงหรือเปล่าถ้าไม่มี Health อันนี้ก็คงต้องฝากให้คิด” 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หมอมานพ แจงยิบ! เงื่อนไขใหม่ “มะเร็งรักษาทุกที่” ทำไมต้องมีใบส่งตัว

บัตรทอง ใช้งบผิดทาง ปลายปิดกับรพ.ใหญ่ ปลายเปิดกับร้านยา

“คลินิกชุมชนอบอุ่น” ยันได้ค่าเหมาจ่ายรายหัวบัตรทอง 10 บาท จริง!