“แพทยสภา-สภาพยาบาล” เสนอเศรษฐา ถ้าไม่แก้สิ่งนี้ บัตรปชช.รักษาทุกที่ ไม่เกิด!

ประชุมบอร์ดพัฒนาระบบสุขภาพ นัดแรก เศรษฐาตั้ง “อุ้งอิ๊ง” เป็นประธานฯ ด้าน นายกแพทยสภา” หวั่นเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ รพ.นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้ ทำบัตรปชช.ใบเดียวรักษาทุกที่ สะดุดขณะที่ “นายกสภาการพยาบาล” ฝากนายกฯให้ความสำคัญการเพิ่มกำลังคน รองรับการขยายบริการสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ส่วน สภาองค์กรผู้บริโภค” หวังลดความเหลื่อมล้ำคนใช้สิทธิสุขภาพประกันสังคม




วันที่ 24 .. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 หารือ 5 นโยบายเร่งด่วนยกระดับ 30 บาท ประกาศเพิ่ม 4 จังหวัดนำร่องบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ทุกเครือข่าย คือ แพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด และนราธิวาส พร้อมทั้งคาดว่าจะเปิดให้บริการโรงพยาบาลประจำเขตดอนเมือง ภายในธ.นี้ โดยให้ทหารอากาศ(สีกันเป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิ 120 เตียง ศูนย์บริการสาธารณสุข 62 เป็นโรงพยาบาลผู้ป่วยนอกเฉพาะทาง และโรงพยาบาลราชวิถี 2 เป็นหน่วยรับส่งต่อพร้อมแต่งตั้ง แพทองธาร ชินวัตร เป็น ประธานบอร์ดบริหารการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ และเพิ่ม 2 สภาวิชาชีพ คือ สภาการสาธารณสุขชุมชน และสภาการแพทย์แผนไทย ร่วมเป็นกรรมการ 


แพทองธาร กล่าวว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคนมาตั้งแต่ปี 2544 ปัจจุบันครอบคลุมประชาชนมากกว่า 99.6% ช่วยให้เข้าถึงบริการมากขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ และลดจำนวนครัวเรือนที่ยากจนจากรายจ่ายด้านสุขภาพได้ แต่ยังต้องพัฒนาต่อเนื่อง โดยแก้ไขจุดที่เป็นปัญหาและความทุกข์ของประชาชน คือ ความเหลื่อมล้ำในการรับบริการ ความแออัด และระยะเวลารอคอยการรักษา โดยเฉพาะโรงพยาบาลในเขตเมือง ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการ ตั้งแต่ส่งเสริมป้องกัน ตรวจวินิจฉัย ดูแลรักษา นัดหมาย ส่งต่อ และเชื่อมโยงจัดการฐานข้อมูลทั้งหมด เพื่อมุ่งสู่ก้าวต่อไปคือ ยกระดับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ารักษาได้ทุกที่ ให้ประชาชนทุกระดับสามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับบริการสุขภาพได้ทุกหน่วยบริการ ไม่ว่าจะเป็นของรัฐ เอกชน คลินิก และร้านขายยาใกล้บ้าน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว มีทางเลือกที่เหมาะสม ลดขั้นตอนบริการ ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการ โดยยึดหลัก “ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง” เช่น นัดหมายออนไลน์ ใบรับรองแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน พื้นที่ห่างไกลให้เข้าถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ทันท่วงที ไร้ข้อจำกัด ผ่านระบบ Telemedicine การส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังบ้านผู้ป่วย ซึ่งทั้งหมดนี้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันจึงจะยกระดับหลักประกันสุขภาพฯ ของไทยให้ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน 


ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หลังจากนี้จะเร่งพัฒนาระบบบันทึกข้อมูล ระบบยืนยันตัวตน และเชื่อมโยงข้อมูลเครือข่ายบริการ ทั้งโรงพยาบาล คลินิก ร้านยา และแล็บที่สนใจเข้าร่วม ซึ่งจะทำให้ สปสช.สนับสนุนงบประมาณและจ่ายชดเชยให้หน่วยบริการได้เร็วขึ้น โดยจะได้รับงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวล่วงหน้า กรณีผู้ป่วยนอกจะจ่ายชดเชยใน 3 วัน และผู้ป่วยในจ่ายชดเชยทุก 7-14 วัน รวมถึงจะมีการเพิ่มคู่สาย สายด่วน1330 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยนัดหมายบริการ ยืนยันตัวตน การไปรับยาใกล้บ้าน เป็นต้น โดยเพิ่มอาสาสมัคร เช่น พยาบาลเกษียณ หรือคนพิการ เข้าร่วมบริการประชาชน 


ด้าน .เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์นายกแพทยสภา กล่าวว่า เป็นห่วงเรื่องการเชื่อมข้อมูลสุขภาพโดยเฉพาะโรงพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ซึ่ง 30% ที่ขึ้นอยู่กับกลาโหม มหาดไทย กทมมหาวิทยาลัย รวมไปถึงโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งใช้อีกระบบหนึ่ง ไม่ใช่หมอพร้อมแบบ สธจากประสบการณ์ที่ทำงานมาเคยพยายามที่จะเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขแต่ยากมากที่จะทำได้ ทั้งนี้เข้าใจดีเพราะ สธก็กลัวข้อมูลจะถูกเปิดเผย ถูกฟ้องร้อง ส่วนโรงพยาบาลของทหาร ตำรวจ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 26 แห่งก็ใช้อีกระบบหนึ่งในการเก็บประวัติผู้ป่วย เพราะฉะนั้นถ้าหากเชื่อมข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ ระบบบัตรประชาชนใบเดียว ข้อมูลก็ไปไม่ถึง 


ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าจะส่งผู้ป่วยจากโรงพยาบาล สธของไปโรงพยาบาลมหาลัย ข้อมูลก็ไม่ถึงแล้ว เพราะฉะนั้นอยากรบกวน ท่านนายกรัฐมนตรี ได้ทราบว่ารัฐบาลที่แล้วได้ให้งบที่จะเชื่อมข้อมูลผู้ป่วย 2 ส่วนนี้เข้าด้วยกันแล้ว แต่ไม่ทราบความคืบหน้าว่าไปถึงไหนพญ. สมศรี กล่าว


นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ กล่าวตอบว่า นี่จึงเป็นเหตุให้ต้องเริ่มนำร่องที่ 4 จังหวัดก่อน เพราะอยากจะทดลองการเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพ ซึ่งขณะนี้มี 2 ส่วนคือ ข้อมูลสุขภาพโรงพยาบาส สธและข้อมูลสุขภาพ โรงพยาบาล นอก  สธต้องทำให้เชื่อมต่อกัน โดยจังหวัดที่เริ่มนำร่องอย่าง จังหวัดนราธิวาส ก็มีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอยู่ ก็จะได้เป็นโมเดล เพื่อถอดบทเรียนว่า จะเชื่อมต่อกันอย่างไรได้ 


ด้าน รศ.สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ นายกสภาการพยาบาล​ กล่าวว่ายังเป็นห่วงว่าเรื่องของกำลังคนของผู้ประกอบวิชาชีพ ควรจะให้น้ำหนักด้วยเพราะที่ประชุมมีการนำเสนอบขยายบริการยกระดับมากมาย รวมทั้งปฐมภูมิด้วย ดิฉันก็ขอฝากเรื่องการลงทุน เรื่องของกำลังคนทางด้านสุขภาพ เราก็ควรจะมีกำลังคนชุดใหม่ๆ เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน 


ด้าน สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า อยากให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นกรรมการ ใน คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ มากขึ้นโดยการแต่งตั้ง กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเข้ามาร่วมด้วยทั้งนี้เห็นด้วยกับสิ่งที่ แพรทองธารกล่าว ว่าระบบสุขภาพขณะนี้ยังความเหลื่อมล้ำ ความแออัด และการเข้าถึงบริการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังมีประชาชนที่ยังเข้าไม่ถึงและยังมีประชาชนที่ถูกเรียกเก็บเงิน โดยเฉพาะผู้ประกันตน นับเป็นกลุ่มที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ต้องจ่ายทั้งเงินภาษีและเงินสมทบ เพื่อประกันสุขภาพ ซึ่งก็รู้สึกดีที่คณะกรรมการชุดนี้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเข้ามาอยู่ด้วย ดังนั้นระบบที่กำลังจะพัฒนาขึ้นก็หวังว่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้จริง 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หมอมานพ แจงยิบ! เงื่อนไขใหม่ “มะเร็งรักษาทุกที่” ทำไมต้องมีใบส่งตัว

บัตรทอง ใช้งบผิดทาง ปลายปิดกับรพ.ใหญ่ ปลายเปิดกับร้านยา

“คลินิกชุมชนอบอุ่น” ยันได้ค่าเหมาจ่ายรายหัวบัตรทอง 10 บาท จริง!