เปิดเหตุผลนักวิชาการ “ทำไมมียาบ้า 5 เม็ดจึงเป็นผู้เสพ”

รมว.สธ.ย้ำถือครองยาบ้า 5 เม็ดไม่ติดคุกบน 3 เงื่อนไข - ยังอยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็น ก่อนเสนอ ครมเดือน .นี้  




วันนี้ 20 .. 2566 รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ให้สัมภาษณ์ #เก็บตกจากวชิรวิทย์ ว่าในฐานะหน่วยงานวิชาการที่เข้าไปให้ความเห็นเกี่ยวกับอ (ร่างกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีการครอบครองเพื่อเสพ.. … เห็นด้วยกับการครอบครองยาบ้า 5 เม็ดให้สันนิษฐานว่าไม่ใช่เพื่อการจำหน่าย แต่ใช้เสพส่วนตัว แต่ก็ต้องดูเรื่องพฤติการณ์เป็นสำคัญ หากมีเป็นผู้ค้าก็ต้องได้รับโทษทางอาญา


จริงๆก็ยอมรับว่า ไม่สามารถมีเกณฑ์อะไรมาวัดได้ว่าปริมาณเท่าไหร่จึงถือว่าเป็นผู้ค้าหรือผู้เสพ แต่การกำหนดดังกล่าว เพื่อให้ง่ายต่อการปฎิบัติการของเจ้าหน้าที่ เป็นแนวทางแยกระหว่างผู้เสพกับผู้ค้าออกจากกันตามที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับปรับปรุงใหม่ ..2564 ระบุ “ผู้เสพคือผู้ป่วย” ควรเข้ารับการบำบัดไม่ต้องรับโทษทางอาญา” 


รศ.พญ.รัศมน บอกต่อว่า หากรัฐมีนโยบายเช่นนี้ออกมาแบบนี้จำนวนผู้ต้องโทษคดียาเสพติดก็จะลดลง แต่ในขณะเดียวกันจำนวนของผู้ที่ต้องเข้าสู่ระบบการบำบัดก็จะเพิ่มมากขึ้น จึงต้องเพิ่มระบบการบำบัดให้มีเพียงพอและทั่วถึงไป ทั้งนี้เป็นห่วงเรื่องภาระงานบุคลากรที่ต้องแบ่งมาดูกลุ่มผู้ป่วยจากยาเสพติดซึ่งอาจจะกระทบกับการดูแล โรคอื่นๆ 


ย้อนกลับไปผลจากประมวลกฎหมายยาเสพ ที่มีการปรับปรุงใหม่ใน .. 2564 กำหนดผู้เสพคือผู้ป่วย ทำให้จำนวนผู้ต้องขังคดียาเสพติดลดอย่างเห็นได้ชัด 


ปี 2561 มีผู้ต้องขังคดียาเสพติด 245,080 คน

ปี 2562 มีผู้ต้องขังคดียาเสพติด 251,840 คน

ปี 2563 มีผู้ต้องขังคดียาเสพติด 231,153 คน

ปี 2564 มีผู้ต้องขังคดียาเสพติด 203,862 คน*

ปี 2565 มีผู้ต้องขังคดียาเสพติด 183,355 คน 

ปี 2566 มีผู้ต้องขังคดียาเสพติด 180,896 คน


ข้อมูล  วันที่ 1 .. 2566 ที่มากรมราชทัณฑ์ 


อย่างไรก็ตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า จำนวนผู้เข้ารับการบำบัดผู้ติดยาเสพติดทั้งประเทศ ก่อนหน้าปี 2564 มีมากกว่า หลังแก้ประมวลกฎหมายยาเสพติด “ผู้เสพคือผู้ป่วย” แต่ก็เริ่มเห็นแนวโน้มมีผู้เข้ารับการบำบัดมากขึ้น 


ปี 2652 มีผู้เข้ารับการบำบัดผู้ติดยาเสพติด 263,834 คน

ปี 2563 มีผู้เข้ารับการบำบัดผู้ติดยาเสพติด 222,627 คน

ปี 2564 มีผู้เข้ารับการบำบัดผู้ติดยาเสพติด  179,619 คน

ปี 2565 มีผู้เข้ารับการบำบัดผู้ติดยาเสพติด 120,915 คน

ปี 2566 มีผู้เข้ารับการบำบัดผู้ติดยาเสพติด 186,104 คน


ข้อมูล  วันที่ 1 .. 2566 ที่มากระทรวงสาธารณสุข 


รศ.พญ.รัศมน ให้ข้อมูลต่อว่า ในทางการแพทย์การใช้ยาแอมเฟตามีนหรือยาบ้าเกิน 5 เม็ด เสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิต จะเริ่มมีอาการหวาดระแวง ดังนั้นการที่กฎหมายกำหนด 5 เม็ด คือผู้ป่วยจะได้เข้าถึงการรักษา และบำบัดฟื้นฟู 


การบำบัดมีหลายวิธีทั้งผู้ป่วยจากการใช้ยาเสพติดบางคนเข้ารับการบำบัดโดยที่ไม่ต้องอยู่ที่โรงพยาบาลโดยเข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า “จิตสังคมบำบัด” ขณะที่การใช้ยาในการบำบัดยาเสพติด ในโรงพยาบาลจะเป็นการรักษาตามอาการให้ยาต้านการเสพติดหรือ Antipsychotics หรือยาต้านอาการทางจิต


แต่ก็ต้องยอมรับว่าแม้จะได้รับการบำบัดแล้วก็อาจจะยังไม่หายขาดผู้ป่วยยาเสพติดก็เหมือนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นแล้วเป็นซ้ำได้บำบัดแล้วกลับไปเสพได้เช่นกัน” 




มียาบ้า 5 เม็ดไม่ติดคุกบน 3 เงื่อนไข


ด้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การกำหนดถือครองยาบ้านต่ำกว่า 5 เม็ดไม่ผิดกฎหมาย ต้องมีเงื่อนไข 3 ข้อ หากไม่มียังไงก็ติดคุก คือ 1.สมัครใจรักษา 2.เข้าสู่กระบวนการรักษาจนครบและ3.ได้รับการรับรอง 


ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาลประกอบด้วย 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ 1.การป้องกัน 2.การปราบปราม และ 3.การบำบัดรักษาฟื้นฟู ซึ่งเป็นส่วนการรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข 


รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า  ทั้งหมดจะเป็นไปตามนี้หรือไม่ ยังอยู่ขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ (นับจาก 15 .. 2566) หลังจากนี้จะเข้าสู่ครม.เพื่อเห็นชอบ จึงจะออกประกาศได้ และนำสู่การปฏิบัติเพื่อให้โอกาสคนที่เสพมีไว้ครอบครอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หมอมานพ แจงยิบ! เงื่อนไขใหม่ “มะเร็งรักษาทุกที่” ทำไมต้องมีใบส่งตัว

บัตรทอง ใช้งบผิดทาง ปลายปิดกับรพ.ใหญ่ ปลายเปิดกับร้านยา

“คลินิกชุมชนอบอุ่น” ยันได้ค่าเหมาจ่ายรายหัวบัตรทอง 10 บาท จริง!