บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2024

คณะแพทย์ จุฬาฯ เลิกตัดเกรด A – F นิสิตแพทย์

รูปภาพ
ปรับหลักสูตร ปรับการประเมินใหม่ เป็น ‘ผ่าน – ไม่ผ่าน’ เน้นจริยธรรมวิชาชีพมากขึ้น เปลี่ยนเรียนรู้กับ ‘อาจารย์ใหญ่’ ตั้งแต่ ปี 1 หวังปรับเกณฑ์ ลดการแข่งขัน ลดความกดดัน – เครียด วันนี้ (29 ม.ค. 67) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตกลุ่มนักศึกษาแพทย์ ที่อาจมีความเครียดจากเนื้อหาการเรียน และกว่าแพทย์จะจบออกไปมีความรับผิดชอบสูงมากเพราะต้องดูแลรับผิดชอบชีวิตคนไข้ ความคาดหวังสังคมก็ปรับเปลี่ยนไปเยอะ แม้ว่าการเปลี่ยนรูปแบบการประเมินอาจไม่ใช่คำตอบเดียว แต่ต้องทำทุกด้านพร้อมกัน แต่คิดว่าวิธีนี้จะช่วยให้ความเครียดน้อยลง รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ สำหรับ นิสิตที่จะเข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป หลักสูตรใหม่มีการปรับปรุงพัฒนาในหลายด้าน และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือการปรับเปลี่ยนการแสดงผลการประเมินนิสิตในแต่ละรายวิชาเป็น S/U (Satisfactory/Unsatisfactory) หรือ ผ่านเกณฑ์ กับ ไม่ผ่านเกณฑ์ตลอดหลักสูตร แทนการแสดงผลการประเมินแบบดั้งเดิมที่เป็นสัญลักษณ์ A – F และยังเลื่อนการเรียนกายวิภาคศาสตร์ กับอ...

5 หน่วยงานจับมือพัฒนาระบบเฝ้าระวัง-ดูแล “ผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง”

รูปภาพ
เชื่อมโยงข้อมูล ระบุตัวตนของผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนในที่สาธารณะ หลังผลสำรวจ ปี 2566  พบคนไร้บ้าน 19% มีปัญหาสุขภาพจิต เร่ง สร้างกระบวนการดูแล-ส่งกลับ-ฟื้นฟู เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และ มูลนิธิกระจกเงา จัดพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) “การพัฒนาระบบ เฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง” เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลคนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน และผู้รับบริการในสถานพยาบาล และข้อมูลคนหาย/ผู้ป่วยข้างถนน เพื่อติดตามสืบค้นประวัติ ครอบครัว และภูมิลำเนาเดิม ต่อยอดสู่การบูรณาการเพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะไร้บ้านของผู้ป่วยทางจิต นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานดูแลและงานวิจัยผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมสุขภาพจิต มูลนิธกระจกเงา สสส. พบว่า ยังมีผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่งจำนวนหนึ่งเร่ร่อนในที่สาธารณะและขาดโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุข  มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนพัฒนาระบบและจัดให้บริการผู้ป่...

เปิดเทรนด์ตลาดอสังหาฯ ปี 67 คนไทยเน้นเช่ามากกว่าซื้อ

รูปภาพ
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้  ชี้ตลาดบ้านเช่ายังมีทิศทางเติบโต แม้ค่าครองชีพสูง  คาดตลาดอสังหาฯ ปี 67 เผชิญความท้าทายต่อเนื่อง “เศรษฐกิจฟื้นช้า - ดอกเบี้ยสูง” สกัดคนไทยไม่พร้อมมีบ้าน    วันนี้ 18 ม.ค. 2567 ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์  วิเคราะห์ข้อมูล ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2566 ว่าเป็นอีกปีที่ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการต้องเผชิญความท้าทาย จากเศรษฐกิจที่เติบโตช้ากว่าที่คาด และอัตราดอกเบี้ยสูง ส่งผลให้กำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัวตามไปด้วย  คาดการณ์แนวโน้มในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจับตามองในปี 2567 เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้เช่า หรือนักลงทุนได้เข้าใจถึงสถานการณ์ความเคลื่อนไหวในตลาดที่อยู่อาศัย และสามารถตัดสินใจบนเส้นทางอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น   สรุปภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปี 66 ราคาซื้อชะลอตัว ตลาดเช่าแรงไม่แผ่ว ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2566 ยังคงชะลอตัวจากหลายปัจจัย ประกอบกับยังไม่มีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่โดดเด่นเพียงพอจะดึงดูดใจผู้บริโภค ส่งผลให้กำลังซื้อยังคงชะลอตัวตามสภาพเศรษฐกิจ ขณะที่ราคา...

ตั้ง 3 คณะอนุกรรมการ หนุนนโยบายรักษาทุกที่

รูปภาพ
ขีดเส้น 15 มี.ค. 67 เปิดรพ.ประจำเขตดอนเมือง เดินหน้าบัตรประชาชนรักษาทุกที่ระยะ 2 ใน 8 จังหวัด ใช้ค่ายทหารรองรับผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยความคืบหน้านโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ โดยมีการตั้งคณะอนุกรรมการฯ 3 คณะ เพื่อประสานความร่วมมือระหว่าง สธ. กทม. และ กลาโหม 3 ประเด็น ได้แก่  1. นโยบายโรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร 50 เขต 50 โรงพยาบาล และปริมณฑล มี นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เพื่อจัดทำแนวทางบริหารและพัฒนาหน่วยบริการที่ใช้ที่ดินในเขตพื้นที่ทหาร รวมถึงแนวทางพัฒนาระบบบริการรองรับนโยบายนี้ โดยจะมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ รพ.ประจำเขตดอนเมือง คือ รพ.ทหารอากาศ (สีกัน) ให้แล้วเสร็จใน 60 วัน หรือวันที่ 15 มี.ค. 2567 2. การขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว มี นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เพื่อบูรณาการความร่วมมือ จัดทำแนวทางเชื่อมโยงระบบข้อมูล รวมถึงกำกับติดตาม แก้ไขปัญหาอุปสรรคการขับเคลื่อน 30 บาทรักษา...

ถอดโจทย์ระบบการศึกษาไทยจากคำขวัญวันเด็ก นายกฯเศรษฐา

รูปภาพ
นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ชี้  ระบบการศึกษาไทยไม่เอื้อสร้างเด็ก ที่ มองโลกกว้าง   คิดสร้างสรรค์   เคารพความแตกต่าง   ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย  แนะรัฐบาลเร่งปรับหลักสูตรแกนกลางภายใน 2 ปี  วันนี้ (13 ม.ค. 2567) พงศ์ทัศ วนิชานันท์ นักวิจัยอาวุโส กล่าวว่า  “ มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์   เคารพความแตกต่าง   ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย ”  เป็นคำขวัญวันเด็กปีนี้ ที่นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน มอบไว้เนื่องในวันเด็กแห่งชาติปี 2567 เมื่อถอดโจทย์จะทำอย่างไรให้ เด็กในคำขวัญไม่เป็นเพียง เด็กในความฝัน ที่ผู้ใหญ่อยากให้เป็นเท่านั้น งานวิจัยของทีดีอาร์ไอก็พบว่า ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันยังไม่น่าสร้างเด็กที่  “ มองโลกกว้าง   คิดสร้างสรรค์   เคารพความแตกต่าง   ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย ”  เนื่องจากสาเหตุอย่างน้อย  3 ประการ ดังนี้ ประการที่หนึ่ง เป้าหมายไม่ตรงโจทย์ หลักสูตรแกนกลางยังเน้นความรู้เป็นหลัก ไม่เน้นทักษะและทัศนคติเพียงพอให้เด็กมีสมรรถนะในการ “มองโลกกว้าง” นอกจากนี้ ในด้านความรู้ ส่วนใหญ่เป็นเพียงการคิดระดับพื้นฐานยังไม่ไปถึงก...