เปิดเทรนด์ตลาดอสังหาฯ ปี 67 คนไทยเน้นเช่ามากกว่าซื้อ

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ชี้ตลาดบ้านเช่ายังมีทิศทางเติบโต แม้ค่าครองชีพสูง คาดตลาดอสังหาฯ ปี 67 เผชิญความท้าทายต่อเนื่อง “เศรษฐกิจฟื้นช้า - ดอกเบี้ยสูง” สกัดคนไทยไม่พร้อมมีบ้าน 



 

วันนี้ 18 ม.ค. 2567 ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ วิเคราะห์ข้อมูลตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2566 ว่าเป็นอีกปีที่ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการต้องเผชิญความท้าทาย จากเศรษฐกิจที่เติบโตช้ากว่าที่คาด และอัตราดอกเบี้ยสูง ส่งผลให้กำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัวตามไปด้วย 


คาดการณ์แนวโน้มในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจับตามองในปี 2567 เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้เช่า หรือนักลงทุนได้เข้าใจถึงสถานการณ์ความเคลื่อนไหวในตลาดที่อยู่อาศัย และสามารถตัดสินใจบนเส้นทางอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

 

สรุปภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปี 66 ราคาซื้อชะลอตัว ตลาดเช่าแรงไม่แผ่ว


ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2566 ยังคงชะลอตัวจากหลายปัจจัย ประกอบกับยังไม่มีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่โดดเด่นเพียงพอจะดึงดูดใจผู้บริโภค ส่งผลให้กำลังซื้อยังคงชะลอตัวตามสภาพเศรษฐกิจ ขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการก่อสร้าง ส่งผลให้เทรนด์การเช่าที่อยู่อาศัยยังครองความนิยมและมีทิศทางเติบโต 


ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Outlook 2024 พบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2566 ปรับเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อน แต่ลดลง 5% จากปีก่อนหน้า และลดลงถึง 7% จากช่วงเดียวกันก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (ไตรมาส 3 ปี 25620) อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าในปี 2567 ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวมีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกจากต้นทุนการก่อสร้าง รวมถึงราคาที่ดินที่สูงขึ้น


เมื่อแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่าในช่วงปลายปี 2566 

  • เพียงทาวน์เฮ้าส์ที่ดัชนีราคาทรงตัว
  • คอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยวต่างมีดัชนีราคาลดลง 5% จากปีก่อนหน้า


สำหรับทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลรอบนอกศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ และทำเลกรุงเทพฯ รอบนอก ได้แก่ เขตสะพานสูง ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นถึง 11% ตามมาด้วยเขตบางกอกใหญ่ เพิ่มขึ้น 10% เขตคลองสามวา เพิ่มขึ้น 7% เขตหนองแขม เพิ่มขึ้น 6% เขตบางนา เพิ่มขึ้น 5% และเขตบางพลัด เพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อนหน้า ส่วนทำเลศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) ที่ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ เขตปทุมวัน เพิ่มขึ้น 7% และเขตวัฒนา เพิ่มขึ้น 6% จากปีก่อนหน้า 

 

ค่าเช่าพุ่ง 9% ในรอบปี คอนโดตอบโจทย์ผู้เช่า 


ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคจึงทำให้เทรนด์การเช่าที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มเติบโตอย่างมาก โดยพบว่าภาพรวมดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 9% จากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดเช่ายังมีทิศทางเติบโตอย่างน่าสนใจในเมืองหลวงที่ค่าครองชีพสูง แม้ว่าดัชนีค่าเช่าจะลดลง 1% จากช่วงก่อนเกิดโควิด 


สำหรับทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นทำเลย่านแหล่งงานที่มีความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยสูง และทำเลใกล้แนวรถไฟฟ้าที่ตอบโจทย์การเดินทาง ได้แก่ 


เขตปทุมวัน เพิ่มขึ้น 16%

เขตวัฒนา เพิ่มขึ้น 13% 

เขตคลองสาน เพิ่มขึ้น 12%

เขตบางซื่อ เพิ่มขึ้น 11% 

เขตบางคอแหลม เพิ่มขึ้น 10% 

เขตดินแดง เพิ่มขึ้น 10% 

เขตราชเทวี เพิ่มขึ้น 9% 

เขตธนบุรี เพิ่มขึ้น 9% 

เขตห้วยขวาง เพิ่มขึ้น 8%

เขตคลองเตย เพิ่มขึ้น 8%


หมายเหตุ %เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 

 

หากโฟกัสไปที่ดัชนีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในรอบปีที่ผ่านมาภาพรวมลดลงถึง 31% จากปีก่อนหน้า เมื่อแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่าดัชนีความต้องการซื้อลดลงทุกรูปแบบ โดยบ้านเดี่ยวลดลงมากที่สุดถึง 34% ด้านทาวน์เฮ้าส์ลดลง 30% ส่วนคอนโดฯ ลดลง 30% จากปีก่อนหน้า 

 



ส่องปัจจัยขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ปี 67


รายงาน DDproperty Thailand Property Market Outlook 2024 คาดการณ์ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2567 ยังคงต้องเผชิญปัจจัยท้าทายต่อเนื่องมาจากปีก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดีเท่าที่ควร ขณะที่ภาวะหนี้ครัวเรือนและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ล้วนส่งผลโดยตรงต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ส่งผลให้ผู้ประกอบการหันไปเน้นการพัฒนาโครงการเพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง-บน ซึ่งมีความพร้อมในการซื้อที่อยู่อาศัยมากกว่ากลุ่มผู้บริโภคระดับล่างที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจมากกว่าและเป็นกลุ่มที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อมากที่สุด 

 

อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนทั้งจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคไปพร้อม ๆ กัน หากสภาพเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมอย่างเป็นรูปธรรม คาดว่าภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2567 จะเติบโตได้ราว ๆ 5-10% จากปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจับตามอง ดังนี้




 

ขาดสภาพคล่องทางการเงิน อุปสรรคฉุดคนไม่พร้อมมีบ้าน

Generation Rent เบ่งบาน คนรุ่นใหม่เน้นเช่ามากกว่าซื้อ 

เทรนด์ Pet Parent สัตว์เลี้ยงคือคนสำคัญในบ้าน

Universal Design ตอบโจทย์ผู้สูงวัย ครอบคลุมทุกคนในครอบครัว

ที่อยู่อาศัยรักษ์โลก เทรนด์ยั่งยืนเพื่ออนาคต

 ราคาบ้านปี 67 ไต่ระดับตามต้นทุนการก่อสร้าง

ดอกเบี้ยทรงตัวในระดับสูง ทำคนเมินซื้อบ้าน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หมอมานพ แจงยิบ! เงื่อนไขใหม่ “มะเร็งรักษาทุกที่” ทำไมต้องมีใบส่งตัว

บัตรทอง ใช้งบผิดทาง ปลายปิดกับรพ.ใหญ่ ปลายเปิดกับร้านยา

“คลินิกชุมชนอบอุ่น” ยันได้ค่าเหมาจ่ายรายหัวบัตรทอง 10 บาท จริง!