บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2021

เช็คประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 ในไทย สู้ไวรัสกลายพันธุ์

รูปภาพ
“นพ.มานพ” ชี้ สายพันธ์ุอินเดียระบาดไวแต่ซิโนแวค-แอสตราฯ ยังเอาอยู่ ห่วงสายพันธุ์แอฟริกาใต้หลบภูมิวัคซีน ด้าน​ “ดร.อนันต์” เผยภูมิคุมกันหมู่เกิดยาก ระบุเข็ม 2 ฉีดต่างยี่ห้อได้  สายพันธุ์ดั้งเดิมของโควิด-19 พบที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน เรียกว่า สายพันธุ์ D614 ต่อมา กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ G614 หรือ “สายพันธุ์ G” ในเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เดือนกันยายน 2563 เริ่มพบโควิด-19 สายพันธุ์ B1.1.7 ในประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกว่า “สายพันธุ์อังกฤษ” แพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ G  เดิมการระบาดในประเทศไทยทั้งระลอก 1 และ 2 เป็น “สายพันธุ์ G” แต่ในที่สุดการระบาดระลอก 3 ที่เริ่มต้นเดือนเมษายน 2564 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากกว่าทุกระลอกเป็น “สายพันธุ์อังกฤษ” ที่คาดว่ามาจากคลัสเตอร์ทองหล่อ หรือหลุดมาจากประเทศเพื่อนบ้าน  ต่อมา 20 พฤษภาคม 2564 ตรวจพบโควิด-19 “สายพันธุ์อินเดีย” เป็นครั้งแรกในแคมป์คนงานก่อสร้างเขตหลักสี่ ไล่เรี่ยกันวันที่ 22 พฤษภาคม 2564 พบ “สายพันธุ์แอฟริกาใต้” ที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส จึงนำมาซึ่งความกังวลว่าสายพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 สายพันธุ์ ...

"หมอเลี๊ยบ" แนะยุบ "ศบค."! ​ คืนอำนาจ สธ. จัดการโควิด-19

รูปภาพ
“นพ.สุรพงษ์” ติงนายกฯรวมศูนย์อำนาจทำจัดการโควิดล่าช้า ชี้ กทม. เป็น เขตปลอด “กระทรวงสาธารณสุข” มีทรัพยากรพร้อมแต่รับมือระบาดแย่กว่าต่างจังหวัด “โฆษก สธ.” ยัน แอสตราเซเนกาส่งมอบทันฉีดเดือนมิ.ย.​ จากกรณีการเผยแพร่เอกสารของกระทรวงมหาดไทย ระบุจำนวนวัคซีนแอสตราเซเนการายจังหวัดเข็ม 1 (มิ.ย.) พบว่า จังหวัดกรุงเทพมหานคร รับจัดสรรมากที่สุด 2,510,000 โดสรองลงมา คือจังหวัดอุดรธานี 246,000 โดส จัวหวัดสมุทรปราการ 237,000 โดส และจังหวัดสกลนคร 181,000 โดย ซึ่งไม่ใช่พื้นที่ระบาดสีแดง ส่วนพื้นที่ระบาดสีแดง เช่น จังหวัดนนทบุรี ได้วัคซีนเพียง 64,000 โดย    นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวผ่านรายการ Active Talk วันที่ 24 พ.ค. 64 ระบุว่าแผนการกระจายวัคซีนที่ยังคงมีวัคซีนจำกัด รัฐบาลควรเน้นไปที่พื้นที่ระบาดสีแดง มากกว่าที่จะกระจายไปทั่วประเทศ ตามกลุ่มอายุประชากร ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและกลุ่มโรคเสี่ยง 7 โรค เนื่องจากในพื้นที่ที่ไม่มีการแพร่ระบาด อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้วัคซีน หากมีการให้วัคซีนก็ยังไม่ไม่รู้ว่าวัคซีนจะมีระยะเวลาสร้างภูมิคุ้...

"วัคซีนแห่งชาติ" เดิมพัน รัฐบาลประยุทธ์

รูปภาพ
"นักเศรษฐศาสตร์"​ เผยแบงก์ชาติประเมิน 2 ฉากทัศน์เศรษฐกิจไทย หากกระจายวัคซีนไม่ตามเป้า GDP ปี  64 โตแค่ 1% เสียหายเกือบ 9 แสนล้าน ด้าน  "นักรัฐศาสตร์ - สื่อมวลชนอาวุโส" จวกรัฐบริหารงานผ่านวาทกรรม หวั่นกระแสตีกลับ  หลังประเทศไทยประสบความสำเร็จจากการควบคุมการระบาดโควิด-19 ระลอกแรก จนผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์อยู่หลายเดือน ทำให้รัฐบาลชะล่าใจต่อการการจัดหาวัคซีน โดยวางแผนจะกระจายวัคซีนล็อตใหญ่เดือนมิถุนายน 2564 แต่เกิดการระบาดระลอก 2 เดือนมกราคม ตามมาด้วยระลอก 3 ในเดือนเมษายน มาตราการควบคุมโรคต่างๆ ที่รัฐออกมาแต่ละครั้งสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ “วัคซีน” จึงกลายเป็นความหวัง และต้องการอย่างมาก สวนทางกับจำนวนวัคซีนที่รัฐจัดหาได้  รายการ Active Talk ตอน “วัคซีน ประชาชนสับสน หรือ รัฐบาลไม่ชัดเจน” ทางเฟซบุ๊คไลฟ์ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์และที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ระบุว่า การประเมินจากธนาคารแห่งประเทศไทยถึงฉากทัศน์ของเศรษฐกิจไทยบนปัจจัยการกระจายวัคซีน หากสามารถกระจายวัคซีนได้ 100 ล้านโดส ภายในไตรมาส 1 ของปี 2565 จะทำให้...

โควิด-19 สายพันธุ์​อินเดีย​ หลุดเข้าไทยได้อย่างไร?

รูปภาพ
"นักระบาดวิทยา" ​ เร่งสอบสวนโรคหาต้นตอนำเข้าสายพันธุ์​อินเดีย​ ​โผล่แคมป์คนงาน​ หวั่นแพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์​อังกฤษ​ แต่ผลการศึกษา​ยังไม่ชัด​ ด้าน​ "อนุทิน" ยัน​ 2​ วัคซีนในไทยเอาอยู่ ยังคงเป็นปริศนาว่า โควิด-19 สายพันธุ์อินเดียหลุดเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร และทำไมถึงพบในแคมป์คนงานก่อสร้างในเขตหลักสี่ “นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์” อธิบดีกรมควบคุมโรค อยู่ระหว่างให้ทีมสอบสวนโรค ถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสทั้งตัวที่พบในไทย เปรียบเทียบกับเชื้อของประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมกับใช้หลักระบาดวิทยาในการสอบสวนโรค ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป จากการสันนิฐานเบื้องต้น สายพันธุ์อินเดียมีการระบาดมากในหลายประเทศ ทั้งอินเดีย อังกฤษ มาเลเซีย รวมทั้งเคยพบในสนามบินซางฮี ประเทศสิงคโปร์ ส่วนเมียนมาและกัมพูชาการตรวจสายพันธุ์ยังมีข้อมูลค่อนข้างจำกัด  เชื่อว่าอาจมีสายพันธุ์อินเดีย  ดังนั้นประเทศไทยจึงมีโอกาสที่จะพบสายพันธุ์อินเดียหลุดรอดเข้ามาได้ ย้อนไปก่อนหน้านี้สายพันธุ์อินเดียถูกพบในประเทศไทยครั้งแรกจากผู้ที่เดินทางเข้ามาจากประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 64 และกักตัวอยู...

เสนอตั้ง รพ.สนามในแคมป์ฯ แบ่งวัคซีนฉีดแรงงานข้ามชาติ ตัดวงจรระบาด

รูปภาพ
ภาคเอกชน รับ คลัสเตอร์แคมป์คนงาน กระทบธุรกิจอสังหาฯ ร่วมระดมสมองหาทางแก้ 3 ระยะ นักวิจัยฯ แนะ ออกระเบียบที่อยู่อาศัย 1 คนต่อ 10 ตร.ม. พัฒนาระบบสวัสดิการและการเข้าถึงการป้องกันโรค โควิด-19 ลามถึง​ “แคมป์คนงานก่อสร้าง” หลัง กทม. เปิดเผยข้อมูลว่ากรุงเทพมหานคร มีแคมป์ฯ กระจายอยู่ทั่วทั้ง 50 เขต ซึ่งเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2564 พบว่ามี 3 ไซต์งานก่อสร้าง ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุด คือ หลักสี่ 1 แห่ง และวัฒนา 2 แห่ง The Active จัด เวทีสาธารณะ “รู้จัก – เข้าใจ – แก้ปัญหา คลัสเตอร์แคมป์คนงาน” ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2564 โดย “ชูวงศ์ แสงคง” มูลนิธิรักษ์ไทย ระบุแคมป์คนงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ บางส่วนเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมายในช่วงโควิด-19 เมื่อเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ก็กลัวที่จะเข้าสู่ระบบ ทำให้เข้าไม่ถึงความช่วยเหลือจากรัฐ และสิทธิต่าง ๆ ขณะที่ระบบความช่วยเหลือของไทยก็ยังไม่มีความชัดเจน การแยกกักแรงงานข้ามชาติที่ติดเชื้อยิ่งยุ่งยากกว่าแรงงานไทยหลายเท่า ทั้งยังมีอคติต่อแรงงานข้ามชาติ ยากที่จะเข้าไปอยู่ในสถานที่กักตัวในชุมชน ยังไม่นับรวมเด็กที่เกิดมาจากแรงงานเหล่านี้ที...

กทม.เผยแคมป์คนงานคุมโรค ได้ดีกว่าชุมชนแออัด​

รูปภาพ
เร่งตรวจเชื้อเชิงรุก 6 ชุมชนรอบแคมป์คนงานเขตหลัก 4 ลั่นคลัสเตอร์ชุมชนคลองเตยคุมได้แล้วแต่ย้ายไประบาดในตลาดคลองเตยที่มีแรงงานข้ามชาติเป็นหมื่นคน เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 64 แพทย์หญิงป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กล่าวระหว่างการแถลงข่าวของกรุงเทพมหานครว่า การควบคุมโรคในแคมป์คนงานก่อสร้าง จะสามารถทำได้ดีกว่าการควบคุมโรคในชุมชนแออัด เนื่องจากเป็นพื้นที่ปิด สามารถใช้โมเดลการควบคุมโรคแบบ Bubble and sealed ได้ดีกว่าชุมชนแออัด ล่าสุดพบ 3 ไซต์ก่อสร้างที่มีผู้ติดเชื้อมาก คือ หลักสี่ 1 แห่ง และวัฒนา 2 แห่ง โดยแคมป์คนงานเขตหลักสี่ มีการตรวจหาเชื้อแล้ว 100% ส่งผู้ติดเชื้อมีอาการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว ส่วนผู้ติดเชื้ออาการน้อยยังอยู่ในพื้นที่แยกกักบางส่วนแต่ไม่มาก ขณะเดียวกันมีการตรวจเชิงรุกชุมชนรอบข้างแคมป์คนงานเขตหลักสี่ทั้ง 6 ชุมชนแล้วคาดว่า 1-2 วันจะตรวจครบทั้งหมด ขณะที่อีก 2 แคมป์คนงานเขตวัฒนาเข้ารับการรักษาหมดแล้ว มีแยกกักเฉพาะคนที่ตรวจแล้วไม่ติดเชื้อแต่ถือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยวันพรุ่งนี้ กทม. จะเชิญผู้ประกอบการไซต์ก่อสร้างเข้าพูดคุยถึงมาตรการคุ...

เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564

รูปภาพ
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอแถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( GDP) ในไตรมาสแรกของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2564 ลดลงร้อยละ 2.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า (% YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ร้อยละ 0.2 ( QoQ_SA) ด้านการใช้จ่าย มีแรงสนับสนุนสำคัญจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการขยายตัวต่อเนื่องของการใช้จ่ายรัฐบาลและการขยายตัวเร่งขึ้นของการลงทุนภาครัฐ ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกบริการลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก การระบาดของ โรคโควิด -19 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทน ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 10.8 ตามการลดลงของ การใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือน อุปกรณ์ครัวเรือนและการซ่อมแซมที่อยู...