บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2024

คลินิกไม่ออกใบส่งตัว ทำผู้ป่วยจิตเวชคิดสั้น กินยานอนหลับจนเข้า รพ.

รูปภาพ
คนป่วย กทม. เดือดร้อนกว่า 2 เดือน สปสช.ยังแก้ปัญหาใบส่งตัวไม่ได้ ทำผู้ป่วยซึมเศร้าดิ่ง กินยานอนหลับร้อยเม็ด จนแอดมิทเข้า รพ.รามา ขณะที่วันที่ 1 พ.ค. นี้ กลุ่มผู้ป่วยบัตรทอง กทม. เตรียมถก รองผู้ว่าฯ - สปสช. อีกรอบ หวังได้ทางออก   วันที่ 27 เม.ย.​ 2567 ธนเดช (สงวนนามสกุล) ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง กทม. เปิดเผยกับ เก็บตกจากวชิรวิทย์ ว่าตนป่วยจิตเวชโรคซึมเศร้า ขอให้คลินิกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล แต่คลินิกไม่ส่งตัว พร้อมกับพูดจาไม่ดี กลับมาจึงกินยานอนหลับเกินขนาด จนถูกส่งตัวฉุกเฉิน ตอนนี้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี  “คืนนั้นผมดิ่ง และหมดหวังจะรักษา ทานยานอนหลับไปร้อยกว่าเม็ด สุดท้ายไปนอนอยู่รพ.ครับ บวกกับผู้จัดการคลินิกท่านหนึ่ง ปากซอยอินทามระ 11 โทรมาขู่บอกว่ารอรับหมายศาลได้เลย และไม่ต้องมาขอใบส่งตัวอีก”  ขณะที่ สรินยา    วงศ์ถาวรมั่น ต้องพาแม่ซึ่งเป็นผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง กทม. มีโรคร่วม 20 โรคไปหาหมอ แต่คลินิกออกใบส่งตัวไม่ครบ บอกว่าเมื่อเร็วๆนี้ ได้เดินทางไป สปสช. ศูนย์ราชการ ติดต่อแผนกประสานงานสิทธิ เพื่อมาแจ้งตามเรื่องคลินิกชุมชนอบอุ่น ไม่ออกใบส่งตัวให้ เพราะทางค...

รพ.แม่สอด ประกาศแผนฉุกเฉินระดับ 5 รับมือ เมียนมาแตก!

รูปภาพ
มีผู้บาดเจ็บจากการสู้รบ ทั้งหมดเป็นทหารเมียนมา 32 คน โคม่า 8 คน  ถูกส่งต่อมาที่ รพ.แม่สอด จ.ตาก  หมอ วอนประชาชนที่ไม่ได้มีอาการฉุกเฉินอย่ามา ER ให้ใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกในวันเวลาราชการ !   เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2567 นพ.รเมศ ว่องวิไลรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด ประกาศแผนฉุกเฉินระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด เตรียมเจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ทุกฝ่าย รวมทั้งรถฉุกเฉินนับสิบคัน    หลังมีทหารเมียนมาบาดเจ็บกว่า 32 คนขอเข้ารับการรักษาในฝั่งไทย ต่อมารถพยาบาลนำผู้บาดเจ็บจำนวนมากทยอยนำมาส่งโรงพยาบาลแม่สอด แผนกห้องฉุกเฉินจำนวนมาก โดยมีอาการโคม่าสีแดง 8 คน  ขณะที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาเข้ามายังพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวแล้ว 3,027 คน  จากสถานการณ์ความไม่สงบดังกล่าว คาดว่าจะมีผู้หนีภัยฯ เข้ามาเพิ่มขึ้น กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง รวมทั้งประสานหน่วยงานเอกชน(NGO) ที่พร้อมให้การช่วยเหลือ ดูแลผู้หนีภัยฯ ที่เข้ามายังพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวตามหลักมนุษยธรรม  มีการเฝ้าระ...

อาจารย์แพทย์ ยัน PM2.5 คือ 1st class Carcinogen (สารก่อมะเร็งอันดับ 1)

รูปภาพ
ผิดหวังรัฐบาลไม่ขยับแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สังคมไทยตื่นตัวอย่างมากกับปัญหาฝุ่น PM2.5 หลังมีการเปิดรายชื่อ 4 อาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เสียชีวิตไปด้วยโรคมะเร็งปอด ท่ามกลางวิกฤตฝุ่น PM2.5 เวลานี้ที่ยังไร้ทางออก และยังหนักหน่วงมากในพื้นที่ภาคเหนือ มี จนท.ดับไฟป่าเสียชีวิต มีหลายครอบครัวที่แชร์ภาพเด็กๆ เลือดกำเดาไหล เพราะทนฝุ่นระดับสีม่วงไม่ไหว  วันนี้ (6 เม.ย. 25657) ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และทรวงอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์ #เก็บตกจากวชิรวิทย์ ย้ำว่า PM 2.5 สามารถทำลายชีวิตมนุษย์ได้หลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือมะเร็งปอดทั้งๆ ที่เราไม่ได้สูบบุหรี่ มีการพิสูจน์ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับทั่วโลกแต่ปี 2013 ว่า PM2.5 เป็น 1st class Carcinogen (สารก่อมะเร็งอันดับ 1) ทำให้เกิดมะเร็งปอดในมนุษย์ และเราก็เห็นจากงานวิจัยต่างๆในวารสารทางการแพทย์ว่ามีผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่ได้สูบบุหรี่มีจำนวนมากขึ้น สัมพันธ์กับถิ่นที่อยู่บริเวณที่มี PM2.5 ไม่ว่าจะประเทศอังกฤษ เกาหลีแคนาดา ไต้หวัน รวมทั้งประเทศไทย คุณหมอแชร์ประสบการณ์ของตัวเอง พบว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่และเป็นมะเร็งปอดเพ...

กระแสเริ่มซา เผยธุรกิจกัญชาที่จดทะเบียนถูกต้องส่วนใหญ่ขาดทุนมากกว่ากำไร

รูปภาพ
  วงเสนา “กัญชาไทย...จะไปทางไหน?” เปิดผลประเมินทางสุขภาพ-เศรษฐกิจ-สังคม หลังปลดล็อกกัญชา 2 ปีพบใช้เพื่อนันทนาการมากสุดโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน ชงข้อเสนอ ใช้มาตรการทางนโยบายและกฎหมายคุมเข้ม ห้ามผสมอาหาร-ขนม หนุนยกเลิกปลูกในครัวเรือน   วันที่ 29 มี.ค. 2567 ดร. ณัฐนันท์ วิจิตรอักษร นักวิชาการทีดีอาร์ไอ และหัวหน้าแผนงานวิจัย “การประเมินสถานการณ์และจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมจากกัญชา และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง” กล่าวว่า เกือบ 2 ปีแล้วที่รัฐบาลไทยได้ประกาศปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดเมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน 2565 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาสุขภาพ แต่การปลดล็อกดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนทั่วไปสามารถปลูกกัญชา ซื้อ ขาย นำไปผสมในอาหาร และใช้เพื่อนันทนาการในพื้นที่ส่วนตัวได้ โดยสถานการณ์การใช้กัญชาในประเทศไทยหลังจากปลดล็อกพบว่ากัญชาถูกนำไปใช้ใน 3 รูปแบบคือ เพื่อการแพทย์ (รวมแพทย์ทางเลือก) เพื่อนันทนาการ และ อื่น ๆ (เช่น ต้มดื่ม ปรุงอาหาร) “การใช้กัญชาเพื่อนันทนาการมีมากที่สุดซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากถึง 10 เท่าตัว รองลงมาคือใช้เพื่อการแพทย์และส...