บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2024

หาทางออก ปมคลินิกฯบัตรทอง กทม. ไม่ออกใบส่งตัว

รูปภาพ
“ผู้ป่วย” สะท้อน 3 เดือนแล้วยังแก้ปัญหาไม่ได้ “คลินิกฯ” วอนอย่างมองเป็นนางร้าย ด้าน “สปสช.” เล็งเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเงินบัตรทอง กทม. ปีงบ 68 ขณะที่ “สภาองค์กรของผู้บริโภค” แนะโยกเงิน PP อุด OP จี้ กทม. ยกระดับ ศบส. เท่าโรงพยาบาลชุมชน จ่อคุยผู้ว่าฯชัชชาติ ด้าน “รองผอ.สำนักอนามัย” โอด ศบส.ทำเต็มที่แล้ว ดูแลสิทธิบัตรทอง 9 แสนคน ชี้ภาระงานล้นมือ วันนี้ (29 มิ.ย. 2567) สภาองค์กรของผู้บริโภค จัด เวทีแนวทางแก้ไขปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยบัตรทองใน กทม. เพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค โดยตัวแทนกลุ่มผู้ป่วยสะท้อนปัญหาความยากลำบากที่ต้องไปพบแพทย์ตามนัด เพราะบางคลินิกไม่ยอมออกใบส่งตัว หลังสปสช.การเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเป็นเหมาจ่ายให้แก่คลินิกชุมชนอบอุ่น ซึ่งต้องตามจ่ายเมื่อส่งตัวผู้ป่วยที่มีสิทธิประจำที่คลินิกตน ยังไปโรงพยาบาล    โดยเป็นเวลากว่า 3 เดือนแล้ว กับปัญหาใบส่งตัวผู้ป่วยบัตรทอง กทม. ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข นส.ศิวนุช สร้อยทอง จากมูลนิธิกระจกเงา ยกตัวอย่างกรณี นายพงษ์ศักดิ์ เยาวชัย สมาชิกโครงการจ้างวานข้าที่เสียชีวิตหลังคลินิกออกใบส่งตัวให้ล่าช้า อาจยังมีคนไข้รายอื่นที่เจอเหมือนๆกัน ...

เครือข่ายกัญชาฯ จับตา 5 ก.ค.นี้ บอร์ดควบคุมยาเสพติด ดึงกัญชากลับสู่ยาเสพติด

รูปภาพ
เผย  5 ก.ค.นี้ ประชุม “คณะกรรมการควบคุมยาเสพติด” คาดมีวาระกัญชา ด้าน “กลุ่มเขียนอนาคตกัญชาไทย” ไม่สนผลรับฟังความเห็น 80% หนุนกลับยาเสพติด เชื่อเป็นการจัดตั้ง - ชี้เอื้อกลุ่มทุน ขณะที่ “สมาคมกัญชงฯ”​ ไม่หวั่น  เดินหน้าทำธุรกิจต่อ  แม้กัญชาเป็นยาเสพติด ขอ สธ.เร่งออกกฎทรวง กำหนดทิศทางให้ชัด   28 มิ.ย. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายเขียนอนาคตกัญชาไทย ยื่นหนังสือคัดค้านกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด ต่อคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดแห่งชาติ ซึ่งจะมีการประชุม​ วันที่​ 5​ ก.ค.​ 67​ โดยคาดว่าจะมีวาระสำคัญคือ การนำกัญชาเข้าสู่บัญชียาเสพติด เนื่องจากการประกาศกัญชาเข้าสู่บัญชียาเสพติดประเภท 5 จะต้องผ่านความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าว  ช่อขวัญ ช่อผกา ​ ตัวแทนเครือข่ายเขียนอนาคตกัญชาไทย กล่าวว่า แม้จะรู้อยู่แล้วว่าคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด จะต้องมีมติดึงกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดอย่างแน่นอน แต่อย่างน้อยก็ต้องออกมาแสดงจุดยืน โดยคณะกรรมการนี้ ในยุคของ อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สธ. ก็ลงมติให้กัญชาออกจากยาเสพติด แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลก็จะลงมติส่วนทาง แสดงให้เห็นว่าข้าราชการประจบประแจงตามนาย  ช่อขว...

หวั่น 30 บาทรักษาทุกที่ทำคนไข้ล้นโรงเรียนแพทย์

รูปภาพ
ผอ.รพ.ร้อยเอ็ด เสนอยกระดับโรงพยาบาลชุมชน ค่าตอบแทนแพทย์ต้องเร้าใจ ขณะที่ เลขาฯ สปสช.เร่งเชื่อมข้อมูลข้ามสังกัดแก้ปมใบส่งตัว กทม. คากเสร็จในเดือน ก.ค. นี้   วานนี้ (26 มิ.ย. 2567) เวทีรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2567 นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผอ.รพ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่เป็นนโยบายที่ดี แต่มีความกังวลว่าจะทำให้คนไข้จำนวนมากวิ่งไปหาโรงเรียนแพทย์อย่าง จุฬา,ศิริาช,รามาฯ ต้องตั้งรับดีดี หรืออาจต้องมีหน่วยรองรับบริการบัตรทอง ขณะที่ชาวบ้านต่างจังหวัดไม่อยากไปรักษาไกลๆ แต่หากไปหาหมอที่โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) หลายครั้งแล้วไม่หาย เขาจะไปโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์แน่นอน  ส่วนนโยบายปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่บอกว่าจะต้องพัฒนา รพช. อย่างก้าวกระโดด ก็จำเป็นต้องมีหมอเฉพาะทางเพิ่ม ขณะที่อีกสิบปีจะมีหมอจบใหม่อีก 3 หมื่นคน ต้องวางแผนให้ดี โดยเฉพาะค่าตอบแทนต้องเร้าใจ จูงใจไม่ให้หมอไหลออกไปนอกระบบ  ด้าน ผศ.นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า ได้ทำวิจัยนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ในเฟสแรก พ...

สมศักดิ์ จ่อล้วงเงินบาป กองทุนยาเสพติด ปปส. มาบำบัดผู้เสพ

รูปภาพ
สั่งที่ปรึกษารัฐมนตรีร่างระเบียบกฎหมาย ใช้เงินที่ได้จากการยึดทรัพย์ในกองทุนยาเสพติด มาบำบัดผูู้เสพ เล็งเปลี่ยนชื่อ ”กรมสุขภาพจิต“​เป็น ”กรมสุขภาพจิตและยาเสพติด“ ด้าน เลขาธิการ ปปส. ไม่ออกความเห็น ชี้เจตนากองทุนฯ เพื่องานป้องกันและปราบปราม   เมื่อวานนี้ (24 มิ.ย. 2567) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงนโยบายยาเสพติดเวลานี้ว่า ผู้เสพ 1 เม็ดต้องระบุผู้ขายนั้น เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ ต้องมีการสอบสวนให้ลึกว่า ซื้อมาจากไหน ซึ่งจะได้ทั้งผู้เสพไปบำบัด และผู้ขายรายย่อย ที่จะนำไปขยายผลยึดทรัพย์ด้วย  นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ตนได้แก้กฎหมายประมวลยาเสพติด เพื่อเน้นการยึดอายัดทรัพย์ ในสมัยที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพราะในอดีตไม่ได้ทำงานเชิงรุก ตั้งรับอย่างเดียว ซึ่งในแต่ละปีสามารถยึดทรัพย์ได้ไม่ถึง 20 ล้านบาท ทั้งที่แหล่งผลิตต้นทางมีมูลค่าถึง 7 หมื่นล้านเหรียญ ตนจึงมองว่า การแก้ยาเสพติด ถ้าตั้งรับอย่างเดียวจะเหนื่อยมาก จึงมีการเปลี่ยนแนวทางเน้นการยึดทรัพย์ ให้รางวัลคนแจ้งเบาะแส 5% รวมเปลี่ยนแนวทางการทำคดี ผู้เสพเหลือ 1 เม็ด แต่ก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ด้...

กทม.ตั้งเป้ารักษาทุกที่สิ้นปี 67 เล็งสร้าง 3 รพ.เพิ่มรองรับส่งตัวผู้ป่วย

รูปภาพ
ชี้ต้องแยกระดับการรักษา หากเจ็บป่วยเล็กน้อยก็รักษาใน “หน่วยบริการปฐมภูมิ” ได้ทุกที่แล้ว แต่หากต้องส่งตัวต่อ ยังต้องไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์ เร่งเชื่อมข้อมูลก่อนสิ้นปี 2567 เริ่มทดลองระบบแล้วในโซนกรุงเทพฯใต้ กับ 3 รพ. 3 สังกัด  วันนี้ 25 มิ.ย. 2567 รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่า กทม.  เปิดเผยกับ #เก็บตกจากวชิรวิทย์ ถึงกรณีนโยบายบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ในส่วนของโรงพยาบาลสังกัด กทม. ต้องชะลอไปก่อน เพราะ กทม.มีเรื่องความซับซ้อนของระบบบริการที่มากกว่าที่อื่น ทั้งคลินิกปฐมภูมิ  ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงเรียนแพทย์ และสถานบันที่รักษาโรคซับซ้อนจำนวนมาก ถ้าประกาศรักษาทุกที่เหมือนกระทรวงสาธารณสุข จะทำให้ระบบสุขภาพกทม.ลวนหมด ทั้งคิวที่ถูกส่งต่อมาจากต่างจังหวัดที่มีมาก อาจทำให้คนไข้เสียประโยชน์ในการรักษา   ทั้งนี้ ได้ทดลองระบบรักษาทุกที่ ซึ่งหัวใจสำคัญคือการการเชื่อมต่อข้อมูลข้ามสังกัดในโซนกรุงเทพฯ ใต้ กับ 3 โรงพยาบาลคือเจริญกรุงประชารักษ์ สังกัด กทม. โรงพยาบาลเลิดสิน สังกัด สธ. และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  สังกัด รร.แพทย์ โดยพื้นที่กทม. จะสามาร...