บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2024

นายกฯ เปิดตัว “30 บาทรักษาทุกที่” ขยายสิทธิทั่ว กทม. ชูเทคโนโลยีลดแออัดโรงพยาบาล

รูปภาพ
หวังลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัล ขณะที่ ”สมศักดิ์ - ชัชชาติ“ ชี้ปัญหาสุขภาพในเมืองใหญ่ยังท้าทาย แม้มีโรงพยาบาลมาก แต่ประชากรแฝงกว่า 10 ล้านคน ย้ำรักษาทุกที่เฉพาะหน่วยปฐมภูมิ ป่วยหนักจึงส่งต่อ รพ. ตามขั้นตอน วันนี้ (27 ก.ย. 2567) แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า” ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมงานกว่า 1,000 คน โดยมีการประกาศนโยบาย “30 บาทรักษาทุกที่” ที่เน้นยกระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนในกรุงเทพฯ  “ดิฉันเองมีประสบการณ์หลายอย่าง ยกตัวอย่าง คุณพ่อตอนนั้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้กลับมาที่บ้านและทานข้าวเย็นกันปกติ และบอกว่าไปต่างจังหวัดมา มีผู้ชายคนหนึ่งวิ่งมาหาท่านและเปิดเสื้อมีแผลยาวตั้งแต่ข้างบนจนถึงช่วงท้อง บอกว่า ผมได้ผ่าตัดหัวใจมาครับด้วย 30 บาท ซึ่งคุณพ่อเล่าด้วยความภาคภูมิใจอย่างมาก” แพทองธาร กล่าว  เธอบอกอีกว่า เบื้องหลังการทำงานยังมีคนอีกมากมายที่ทำให้นโยบายนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ ประชาชนไม่ต้องล้มละล...

เครือข่ายปกป้องสิทธิฯ ยื่นฟ้องรัฐบาล! ยกเลิกแผนแม่บทแร่ฉบับที่ 2

รูปภาพ
เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง 13 พื้นที่ ยื่นฟ้องศาลปกครองเรียกร้องให้ยกเลิกแผนแม่บทแร่ฉบับที่ 2 ชี้ประชาชนไม่มีส่วนร่วม และข้อมูลไม่ครบถ้วน ขณะเดียวกันชาวบ้านสะท้อนผลกระทบจากนโยบายแร่ ทำลายสิ่งแวดล้อม-วิถีชีวิตชุมชน ซ้ำเติมภาวะโลกเดือด โยงน้ำท่วม-ดินสไลด์ วันนี้ (26 พ.ย. 67) เครือข่ายนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจาก 13 พื้นที่ พร้อมทนายความจากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ เพื่อขอให้ศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนแผนแม่บทบริหารจัดการแร่ฉบับที่ 2 เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้มีการจัดทำเขตแหล่งแร่ใหม่โดยกันพื้นที่สำคัญ เช่น แหล่งน้ำซับซึม ป่าสงวน และพื้นที่โบราณสถาน ออกจากเขตทำเหมือง ตัวแทนจากหลายพื้นที่ได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำเหมือง เช่น การทำลายสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และแหล่งน้ำที่ใช้ทำการเกษตร รวมถึงการทำลายแหล่งโบราณสถานสำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ที่ชาวบ้านต้องเผชิญกับผลกระทบจากเหมืองแร่ฟลูออไรต์และโปแตช ซึ่งสร้างความเสียหายต่อแหล่งน้ำใต้ดินและพื้นท...

“สมศักด์” ลั่นนโยบายสาธารณสุขปี 68 ต้องต่อสู้กับโรค NCDs ลดค่าใช้จ่ายสุขภาพ

รูปภาพ
กระทรวงสาธารณสุขสรุปผลงานเด่นปี 2567 พร้อมประกาศนโยบายสำคัญปี 2568 เน้นขยายบริการสุขภาพจิต ควบคุมโรคไม่ติดต่อ ชูมาตรการลดภาษีคนสุขภาพดี เดินหน้าผลักดัน 7 นโยบายหลัก   วันนี้ (26 กันยายน 2567) กระทรวงสาธารณสุข นำโดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการฯ และนายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ เปิดเวทีสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2567 พร้อมประกาศนโยบายปี 2568 โดยนายสมศักดิ์เปิดเผยถึงผลงานเด่นในปีนี้ ได้แก่ การผลักดันร่างกฎหมาย 3 ฉบับ คือ  ร่าง พ.ร.บ.กสธ.​ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรสาธารณสุข โดยแยกออกมาจาก กพ. ร่าง พ.ร.บ.อสม. จะช่วยสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่ อสม. กำหนดค่าป่วยการเดือนละ 2 พันบาท ร่าง พ.ร.บ.สุขภาพจิต ที่จะตั้งกองทุนสุขภาพจิตแห่งชาติ เพื่อหางบประมาณสนับสนุนงานด้านสุขภาพจิตทุกมิติ โดยผู้ป่วยจิตเวชในไทยมากกว่า 70% ใช้สารเสพติดร่วมด้วย อีกหนึ่งผลงานสำคัญในปี 2567 คือโครงการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ 9 สาขา หรือ "โครงการ 9 หมอ" โดยผลิตบุคลากรทางการแพทย์ 9 สาขากระจายไปสู่ภูมิภาค ระยะเวลา 10 ปี ระหว่างปีการศึกษา 2568-2577 ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก ครม. ด้วยงบประมาณ 3,723 ...

“สนธิ” เผย เกษตรกรรมบุกรุก ป่าภาคเหนือหายปีละ 2 แสนไร่ ต้นเหตุน้ำท่วมหนัก

รูปภาพ
ด้าน “จตุพร-ไชยณรงค์” ชี้ปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งการบุกรุกพื้นที่ชุ่มน้ำ สิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำ วอนอย่างเหมารวม ไร่เชิงเดี่ยว-ไร่หมุนเวียน ไม่โยนบาปให้คนต้นน้ำ   วันนี้ (24 ก.ย. 67) สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ค ระบุ ภาคเหนือ มีพื้นที่ป่าไม้ในปี 2566 ประมาณ 37,976,519.37 ไร่ หรือ 63.24% ของพื้นที่ภูมิภาค ลดลงจากปี 2565 ถึง 171,143.04 ไร่ ตัดไม้ทำลายป่าเปลี่ยนภูเขามาเป็นพื้นที่เกษตรกรรมปีละเกือบสองแสนไร่ “สาเหตุสำคัญของอุทกภัยและดินถล่มครั้งใหญ่ของ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา ในปี 2567 สาเหตุฝนตกหนักกว่าเดิมแต่พื้นที่ซับน้ำไม่มี ฝีมือมนุษย์ทั้งนั้น”  จากโพสต์นี้ มีคนเข้าไปแสดงความเห็นจำนวนมาก The Active สอบถาม สนธิ เพิ่มเติม เขายืนยันว่า เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม ปลูกข้าวโพด ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำไร่หมุนเวียน รวมหมด รัฐปล่อยให้ประชาชนไปปลูกพืชบนภูเขาที่มาความลาดเอียง 35% สูงเกิน 600 เมตร ปล่อยให้ประชาชนเข้าไปบุกรุกได้อย่างไร  สนธิเสนอว่า ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ไ...

‘กระจกเงา’ รับบริจาคอุปกรณ์ซ่อมบ้าน ช่วยชาวแม่สาย

รูปภาพ
เปิด โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ เป็นฐานบัญชาการ โกดังเก็บของ จุดรวมอาสาสมัคร ร่วมกับกลุ่มนักเรียนจิตอาสา วันนี้ (17 ก.ย. 67) มูลนิธิกระจกเงาประกาศด่วนถึง ผู้ที่มีรถกระบะในเชียงราย  ขอยืมรถ 5 คัน ใช้งาน 1 เดือน ในภารกิจฟื้นฟูผู้ประสบภัย  โดยจะใช้เป็นรถพุ่มพ่วงรับจ้างล้างบ้าน  สมบัติ บุญงามอนงค์ ผู้อำนวยการมูลนิธิกระจกเงา บอกว่า เหตุการณ์น้ำท่วมแม่สายถือว่า เป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง นอกจากเรื่องอาหาร น้ำดื่ม ของใช้จำเป็น ส่วนที่ยังต้องเติมเต็ม คือเรื่องของอุปกรณ์ การต่อเติมบ้าน พวกหน้าต่าง ประตู เฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับความเสียหายจากดินโคลน ทุกคนสามารถนำวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วเข้ามาที่มูลนิธิกระจกเงาได้ เพื่อเป็นศูนย์กลางกระจายความช่วยเหลือให้ถึงมือผู้ประสบภัย โดยครั้งนี้จะใช้โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ เป็นฐานบัญชาการในการเป็น โกดัง Stock ของที่ถูกบริจาคเข้ามา และเป็นจุดรวมอาสาสมัคร เพื่อจัดระบบในการช่วยเหลือต่อไป  ด้าน บุญเทพ​ พิศวง​ ผู้อำนวยการโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ บอกว่า พื้นที่ของโรงเรียนไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พร้อมสนับสนุนด้านสถานท...

Photo Essay | หมอมาแล้ว: ลุยน้ำลุยโคลนไปหาผู้ป่วย น้ำท่วมเชียงราย

รูปภาพ
  หมอมาแล้ว: ลุยน้ำลุยโคลนไปหาผู้ป่วย น้ำท่วมเชียงราย   ”ทุกคนภูมิใจที่ได้มาช่วยเหลือคน เพราะเมื่อมาถึงพื้นที่เราเห็นชาวบ้านหลังจากได้รับการรักษาแล้วเขาดีใจ ว่าเราไม่ถูกทอดทิ้ง อย่างน้อยก็ ยังมีหมอมาดูแล“ ความในใจของหมอจาก 3 โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ ที่หอบหิ้วยาและอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นขึ้นมาจาก กทม. เพื่อดูแลผู้ป่วย ที่ต้องกลายเป็นผู้ประสบภัยซ้ำซ้อนจากเหตุการน้ำท่วมใหญ่เชียงราย แม้ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมจะเริ่มคลี่คลายโดยเฉพาะในตัวเมืองเชียงราย แต่ยังมีหลายพื้นที่ริมแม่น้ำกกที่ถูกน้ำท่วมขัง มีประชาชน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย อาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิง ขณะที่พื้นที่ต้นน้ำใกล้กับอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ซึ่งอยู่ห่างไกลถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ชาวกะเหรี่ยง ต.แม่ยาว อ.เมืองเชียงราย พึ่งได้รับความช่วยเหลือวันนี้ (14 ก.ย. 67) เป็นวันแรก หลังทนกันมาถึง    4 วัน วชิรวิทย์ ติดตามภารกิจ “ทีม MERT” เดินทางขึ้นมาเป็นอีกกำลังสำคัญ ช่วยรับไม้ต่อ จากคุณหมอในพื้นที่ซึ่งรับมือกับสถานการณ์มาตั้งแต่วันแรกเริ่มเหนื่อยล้า …  เมื่อช้านี้ อ.เมืองเชียงราย ยังมีฝนตก ทีม MERT ทีมแรกเดินทางมาศูนย...