บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2024

เครือข่ายประชาสังคมอัด รธน.60 ละเลยสิทธิชุมชน จี้รัฐบาลเร่งตั้ง สสร.

รูปภาพ
ภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยผลักดัน 5 ข้อเสนอ มุ่งแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สำเร็จในสภาชุดปัจจุบัน ชี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย แต่เป็นอุปสรรคทางการเมือง ขณะที่อดีต สสร. เผยรัฐธรรมนูญ 60 ละเลยสิทธิกลุ่มเปราะบาง-สิทธิชุมชน   เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักการเมืองจากทั้งพรรครัฐบาลและฝ่ายค้าน องค์กรภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ที่มีเป้าหมายสนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และเรียกร้องการจัดตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง จัดการประชุมครั้งที่ 2/2567 พร้อมข้อสรุปและข้อเรียกร้องสำคัญ ดังนี้ 1. จัดตั้ง สสร. ให้เสร็จในรัฐบาลปัจจุบัน ภาคีฯ เรียกร้องให้มีการจัดตั้ง สสร. ภายในอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ เพื่อเดินหน้าสู่การปรับปรุงรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน 2. แก้รัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิประชาชน ระหว่างรอการจัดตั้ง สสร. ภาคีฯ สนับสนุนการแก้ไขหมวดที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ เช่น ความเท่าเทียมทางเพศ การไม่เลือกปฏิบัติ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น รวมถึงการเลือกตั้งผู้บริหารท้...

ห่วง FTA ไทย-อียู ทำลายระบบสาธารณสุขไทย เตือนเสี่ยงรับขยะการแพทย์

รูปภาพ
องค์กรผู้บริโภค ชำแหละจุดอ่อน FTA ไทย-อียู เข้มสิทธิบัตรยาหวั่นยาแพงขึ้น ทำบัตรทองสั่นคลอน พร้อมรับเครื่องมือแพทย์มือสอง เกษตรกรแบกหนี้ถูกแย่งสิทธิ์พันธุ์พืช ส่อขัดเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน เตรียมพบผู้แทนเจรจาสหภาพยุโรป 28 พ.ย.นี้ จากกรณีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการเจรจาเอฟทีเอไทย – สหภาพยุโรป (อียู) รอบ 4 ระหว่างวันที่ 25 - 29 พ.ย. 67 ที่กรุงเทพฯ วันนี้ (25 พ.ย.67) เครือข่ายภาคประชาสังคมไทย เช่น เอฟทีเอ ว็อทช์ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย เครือข่ายเกษตรทางเลือก สภาองค์กรของผู้บริโภค และเครือข่ายนักวิชาการ แถลงข่าว “เอฟทีเอไทย-อียู ขัดแย้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน: ยาแพง เกษตรหนี้เพิ่ม บัตรทองพัง” เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล ผู้ประสานงานของกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน  (เอฟทีเอ ว็อทช์) ระบุว่า สหภาพยุโรปเสนอข้อผูกมัดเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดกว่าความตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลก แทบไม่แตกต่างจากที่เคยเจรจาเมื่อ 10 กว่าปีก่อน และจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเข้าถึงยาและระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ เพราะถ้าไทยยอมรับข้อผูกมัดแบบที่เข้มงวดกว่าความตกลงข...

สปสช.ยันไม่ยกเลิก 'มะเร็งรักษาทุกที่' เตรียมหารือปรับเงื่อนไขเบิกจ่าย

รูปภาพ
ผู้ป่วยมะเร็งเริ่มกังวล หลังได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่าต้องมีใบส่งตัว ด้าน สปสช.ชี้แจงเพียงปรับเงื่อนไขการจ่ายเพื่อลดความซ้ำซ้อน ย้ำไม่กระทบสิทธิผู้ป่วย พร้อมเชิญหน่วยบริการหารือหาทางออกร่วมกัน​​​​​​​​​​​​​​​​ #เก็บตกจากวชิรวิทย์ ได้รับข้อมูลจากผู้ป่วยมะเร็ง ที่ใช้สิทธิมะเร็งรักษาทุกที่ Cancer Anywhere ว่าได้รับการแจ้งจากโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ว่า “ผู้ใช้บริการต้องมีหนังสือรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมาจากต้นสังกัด เนื่องจากโครงการมะเร็งรักษาทุกที่ สปสช. รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเฉพาะรังสีรักษาและยาเคมีบำบัดเท่านั้น”  ขณะที่อีกรายซึ่งรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ก็ได้รับแจ้งว่า “เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย สปสช.ทำให้โครงการมะเร็งUC-CA 43-44 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 กรณีมารับบริการที่โรงพยาบาลศิริราช ผู้ป่วยต้องมีเอกสารส่งตัวจากโรงพยาบาลตามสิทธิของท่าน”  โดยญาติของผู้ป่วยรายหนึ่งเปิดเผยกับ #เก็บตกจากวชิรวิทย์ ว่า แม่ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งขณะนี้รักษาจบแล้วมะเร็งไม่ลุกลาม แต่คุณหมอนัดมาติดตามว่าจะมีเซลล์ผิดปกติหรือเนื้องอกเกิดขึ้นซ้ำอีกหรือไม่ ซึ่งล่าสุด...

เตือนบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงปอดอักเสบรุนแรง สธ.สั่งเก็บข้อมูลผู้ป่วยทุก รพ.

รูปภาพ
กรมควบคุมโรค เผยข้อมูลหลังพบผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงที่ รพ.บุรีรัมย์ มีประวัติการสูบบุหรี่ไฟฟ้า สั่งการให้กองระบาดวิทยาเร่งเฝ้าระวังและสอบสวนโรคในกลุ่มผู้ป่วยปอดอักเสบ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ภาพประกอบ โดย AI  แพทย์ชยนันท์ สิทธิบุศย์ ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ร่วมกับ แพทย์หญิงภาวิณี วงค์ประสิทธิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญโรงพยาบาลบุรีรัมย์ แถลงข่าวกรณีผู้ป่วยปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้ารับการรักษา แพทย์หญิงภาวิณี เปิดเผยว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเป็นโรคปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า หรือโรค EVALI โดยมีอาการหอบเหนื่อย เหงื่อออกมาก และไอเป็นเลือด แพทย์ต้องใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อช่วยชีวิต จากการซักประวัติพบว่า ผู้ป่วยสูบบุหรี่ไฟฟ้าควบคู่กับบุหรี่มวน และมีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวานและความดันโลหิตสูง ผลตรวจร่างกายพบฝ้าขาวในปอด แต่ไม่มีการติดเชื้อไวรัส เชื้อรา หรือแบคทีเรีย อย่างไรก็ตาม พบอาการคล้ายการขาดนิโคติน โรงพยาบาลจึงประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อดำเนินการสอบสวนโรค นายแพทย์ชยนันท์ ระบุว่า กรมควบคุมโรคได้สั่งการให้กองระบาดวิ...

3 ชีวิต 3 เส้นทาง เงินหมื่น ในสายตาผู้สูงวัย คลองเตย

รูปภาพ
รัฐบาลเคาะแจกเงิน 10,000 บาท ผู้สูงอายุ 4 ล้านคน เริ่มจ่ายทันตรุษจีน 2568 เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2567  พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า มติที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินมาตรการแจกเงิน 10,000 บาทในเฟส 2 โดยเน้นช่วยเหลือ  ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป  เป็นลำดับแรก ครอบคลุมประชากรราว 4 ล้านคน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 40,000 ล้านบาท จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ผู้สูงอายุที่จะได้รับเงินช่วยเหลือในครั้งนี้ ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่าน  แอปพลิเคชันทางรัฐ  ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยต้องผ่านการตรวจสอบสิทธิ์และกระบวนการยืนยันตัวตน (KYC) อย่างถูกต้อง “รัฐบาลจะสามารถโอนเงิน 10,000 บาท ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในเฟสแรกได้ทันช่วงเทศกาลตรุษจีนอย่างแน่นอน โดยมาตรการนี้มุ่งหวังช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน พร้อมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นและสร้างความมั่นคงในระยะยาว” จุลพันธ์ กล่าว  ชีวิตต่างฝัน...

“หวังทุกประเทศมีระบบหลักประกันสุขภาพ” ขบวนการแพทย์ชนบท รับรางวัลแมกไซไซ 2567

รูปภาพ
ย้อนรอยความสำเร็จ 60 ปี จากวิกฤติแพทย์ขาดแคลนสู่นโยบายแพทย์ใช้ทุน 'ครูประทีป' ร่วมยินดีเชิดชูอุดมการณ์ทำงานเพื่อประชาชน ชี้เป็นแรงผลักดันสำคัญนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค พิสูจน์ฝีมือล่าสุด ลุยคลองเตยช่วงโควิด   เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2567 ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ขบวนการแพทย์ชนบท ได้ขึ้นรับรางวัลแมกไซไซ ประจำปี 2567 โดย นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เป็นผู้แทนกล่าวว่า “พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับรางวัลนี้ จากจุดกำเนิดของขบวนการแพทย์ชนบทเกิดจากวิกฤติสาธารณสุขในชนบทไทยช่วงทศวรรษ 1960 ที่ประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้นจึงมีนโยบายที่จะให้แพทย์จบใหม่ต้องไปใช้ทุนในต่างจังหวัดจำนวนสามปีนโยบายนี้ไปช่วยเติมเต็มระบบสาธารณสุขในชนบท” นายแพทย์สุภัทร กล่าวอีกว่าจากเครือข่ายแพทย์กลุ่มเล็กๆ ได้พัฒนาเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันนโยบายสาธารณสุขของประเทศ จนนำไปสู่การเกิดโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2545 ซึ่งให้ความคุ้มครองประชากรไทยกว่าครึ่งประเทศ ล่าสุดในช่วงการระบาดของโควิด-19 ขบวนการแพทย์ชนบทยังได...