บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2024

‘นายกฯ แพทองธาร’ ลั่น ปี 68 พัฒนาระบบสาธารณสุข 6 ด้านสร้างนักบริบาลผู้สูงอายุ 15,000 ตำแหน่งทั่วประเทศ

รูปภาพ
‘นายกฯ แพทองธาร’ คิกออฟ 30 บาทรักษาทุกที่ เฟส 4 อีก 31 จังหวัด ครอบคลุมทั่วประเทศ 1 ม.ค. 68 เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพคนไทย 100% ประชาชนมี Health ID ประจำตัว รัฐบาลทำสำเร็จใน 1 ปีแรก เปลี่ยนผ่านระบบสุขภาพสู่ระบบดิจิทัล จาก 30 บาทรักษาทุกโรคสู่ 30 บาทรักษาทุกที่ พร้อมประกาศปี 68 เดินหน้าสร้าง นักบริบาลผู้สูงอายุ จ้างงานในชุมชน 15,000 ตำแหน่งทั่วประเทศ 50 รพ. 50 เขตในกรุงเทพ ดูแลสุขภาพจิตครบวงจร บำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยติดสารเสพติดกลับสู่สังคม เป็นต้น เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน 30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า ระยะที่ 4 ครอบคลุมทั่วประเทศ 1 มกราคม 2568 โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี หน่วยงานราชการ เครือข่ายประชาชน ภาคเอกชนเข้าร่วมกว่า 200 คน  นางสาวแพทองธาร กล่าวปาฐกถา 30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้...

ทะเลไทยพังแน่! “กฎหมายประมงใหม่” คืนชีวิตอาชีพประมงตัวจริง 

รูปภาพ
สภาฯ เห็นชอบวาระ 3 ร่าง พ.ร.บ.ประมงใหม่ฯ สร้างชีวิตใหม่ให้ชาวประมง สมาคมรักษ์ทะเลไทย หวั่นเกิดวิกฤตปลาทูไทย ม 69 เปิดทางใช้อวนตาถี่เหมือนมุ้ง ลูกปลาลูกกุ้งหมดทะเลแน่!  คืนวานนี้ (25 ธ.ค. 2567) หลังการอภิปรายกว่า 10 ชั่วโมง ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ประมงใหม่ฯ ในวาระ 3 ด้วยคะแนน 366 เสียง จาก 368 เสียง โดยไม่มีผู้ลงคะแนนคัดค้าน สภายังเห็นชอบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ และเตรียมส่งร่างกฎหมายไปยังวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไป ปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ กล่าวว่ากฎหมายฉบับนี้จะช่วยฟื้นฟูชีวิตชาวประมง สนับสนุนวิถีชีวิต วัฒนธรรม และอาชีพ พร้อมทั้งสร้างความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย โดยไม่เน้นบทลงโทษรุนแรง แต่มุ่งคุ้มครองอาชีพประมงให้ยั่งยืนถึงชั่วลูกหลาน พ.ร.บ.ประมงใหม่ กับปัญหาจากอดีต พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ อภิปรายถึงผลกระทบจากพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ที่ออกโดยรัฐบาล คสช. ซึ่งมีบทลงโทษรุนแรงและกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดจนส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจและอาชีพชาวประมง ปลอดประสพ   ชี้ว่า กฎหมายในสมัย...

กระแสสังคมอิน ซีรี่ย์ทิชา เห็นในแรงงานเถื่อน แต่มีดราม่าคลอดฟรีฝั่งไทย

รูปภาพ
เครือข่ายแรงงานฯ หวัง ผลักดันให้ปัญหาลักลอบค้าแรงงานถูกแก้ไข ส่วนกรณี #ดราม่าต่างด้าวคลอดลูกที่ไทย มองว่าเข้าใจผิดเรื่อง #สิทธรักษา แต่ยอมรับ #อัตราการคลอดแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้นจริง #เสนอซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย 365 บาท คุ้มครองเด็ก ด้าน สธ. ชี้ #รายได้รักษาต่างด้าวสูงกว่ารายจ่าย เผย รพ.แม่สอด เงินบำรุงคงเหลือ 200 ล้านบาท พร้อมหาโมเดลดูแลสุขภาพครอบคลุมทุกคน ตอนอวสานของซีรีส์ “ทิชา”  ทางช่อง One31 เมื่อคืน วันที่ 18 ธ.ค. 2567 จบไปแล้วอย่างน่าประทับใจ โดยซีรีส์เรื่องนี้ไม่ได้มีเพียงการแสดงที่ยอดเยี่ยมของนักแสดงเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างกระแสให้สังคมหันมาสนใจปัญหาการ #ลักลอบค้าแรงงานผิดกฎหมาย อย่างลึกซึ้งอีกด้วย อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) และที่ปรึกษาบทโทรทัศน์ของซีรีส์ “ทิชา” กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติและการโยกย้ายถิ่นฐานว่า ซีรีส์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จในการสะท้อนปัญหาเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน และตั้งคำถามสำคัญต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยหวังให้ผู้ชมตระหนักและผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปพัฒนาการแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป อดิศร...

‘หมอชายแดน’ ยัน ไม่เลือกปฏิบัติ หลังดราม่าเพื่อนบ้าน แห่คลอดฟรี

รูปภาพ
ผอ.รพ.ท่าสองยาง จ.ตาก ชี้ รัฐมอบบริการสุขภาพชายแดน ช่วยสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ ความมั่นคงชายแดน   19 ธ.ค. 2567 จากดราม่า ต่างด้าวคลอดไทยฟรี!    “นพ.ธวัชชัย ยิ่งทวีศักดิ์”  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ในฐานะแพทย์ที่ทำงานดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ชายแดน บอกว่า ประเด็นของพี่น้องจากประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาล มีทั้ง  1. คนที่อยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย  2. คนที่ข้ามมาจากเมียนมา ข้ามมาคลอดที่ รพ.ท่าสองยาง มีเพียง 9% เท่านั้น ส่วนคนที่อยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว ซึ่งจริง ๆ เขาอาจจะเป็นคนที่ต้องมีสัญชาติไทยไปแล้ว แต่เนื่องจากความบกพร่องของกระบวนการที่ทําให้ได้สัญชาติไทย รับรองสัญชาติไทยยังมีความบกพร่องอยู่ ทําให้ไม่ได้สัญชาติไทย และกลายเป็น  “ต่างด้าวเทียม”   ส่วนกรณีดราม่าคลอดฝั่งไทยที่เป็นข่าว นพ.ธวัชชัย บอกว่า ถ้ามุมมองในสาธารณสุข คือ การคลอดที่โรงพยาบาลปลอดภัยที่สุด และหากมองในพื้นที่ชายแดน โรงพยาบาลฝั่งเมียนมา ยังขาดความพร้อม ไม่ค่อยมีสถานพยาบาล รวมทั้งมีสถานการณ์ความไม่สงบในเขตชายแดน ทําให้หลาย ๆ โรงพยาบ...

สปสช.ตัดงบ e-Claim ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย สะเทือนระบบ Palliative Care ชุมชน

รูปภาพ
“นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย” ชี้การตัดงบเยี่ยมบ้านอาจทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยระยะท้ายแย่ลง เสนอให้คงกองทุน  e-Claim  ไว้ที่ รพ.ชุมชน เพื่อพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่อง ด้าน เลขาฯ ​สปสช.​​ แจง ยังไม่ได้ยกเลิกอย่างสิ้นเชิง  16 ธ.ค. 67 -  รศ.พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับ #เก็บตกจากวชิรวิทย์   ถึงความกังวลหลังจากที่ สปสช. ตัดงบกองทุนการดูแลแบบประคับประคอง  ( e-claim Palliative Care)  โดยระบุว่าการดูแลแบบประคับประคองในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา แม้จะพัฒนาช้าแต่ก็มีความจำเป็นอย่างมาก รศ.พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล รศ.พญ.ศรีเวียง กล่าวว่า หนึ่งในความสำเร็จของการดูแลประคับประคองคือ กระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุการรักษาแบบประคับประคองไว้ในแผนการดูแลสุขภาพระดับชาติ หรือ Service Plan ร่วมกับสาขาอื่น ๆ กว่า 20 สาขา เช่น โรคไตและโรคหัวใจ ทำให้โรงพยาบาลทุกแห่งต้องจัดตั้งหน่วยงานและบริการด้านการดูแลประคับประคอง พร้อมทั้งต้องมีการตรวจราชการและกำหนดตัวชี้วัดที...

หมอมานพ แจงยิบ! เงื่อนไขใหม่ “มะเร็งรักษาทุกที่” ทำไมต้องมีใบส่งตัว

รูปภาพ
  ชี้ระบบใหม่สร้างความยุ่งยากคนไข้และโรงพยาบาล บังคับให้แยกแยะการตรวจที่เกี่ยวกับมะเร็ง หน่วยบริการเสี่ยงถูกปฏิเสธการเบิกจ่าย ผู้ป่วยต้องหาใบส่งตัวทุกครั้งที่มาติดตามผล แม้เป็นการตรวจที่เคยทำโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว  ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร  หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ ศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช ให้สัมภาษณ์รายการตรงประเด็น ไทยพีบีเอส วันที่ 13 ธ.ค. 2567 กรณีการปรับเงื่อนไขการเบิกจ่ายกองทุนมะเร็งรักษาทุกที่ (Cancer Anywhere) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2568 ซึ่งทำให้เกิดความสับสนในกลุ่มผู้ป่วยที่ถูกหน่วยบริการขอใบส่งตัว โดยจากการชี้แจงของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตัวเขาเองไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากทำงานในส่วนของการตรวจวินิจฉัยโรค แต่ในส่วนของการรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะในหน่วยบริการและโรงพยาบาลต่าง ๆ จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ในอดีต โครงการ  “Cancer Anywhere”  อนุญาตให้หน่วยบริการเบิกจ่ายค่าดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งจาก สปสช. โดยตรง โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัวจากต้นสังกัดสิทธิ์ของผู้ป่วยในทุกกรณี หากการรักษายังคงเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง เช่น ...