บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2025

EnLAW เสนอใช้ม. 9 พรบ.สิ่งแวดล้อม จัดการฉุกเฉิน แม่น้ำกก-สาย

รูปภาพ
แม่น้ำกก-แม่น้ำสายปนเปื้อนสารพิษ ข้ามพรมแดน ‘สุรชัย ตรงงาม’ ชี้ กลไกกฎหมายไทยยังเดินได้ แต่การจัดการแหล่งกำเนิดต้องใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศ  ผลักดันกลไกอาเซียน-ความร่วมมือแม่น้ำโขงเข้าช่วยแก้ปัญหาระยะยาว ขณะที่ความซับซ้อนแหล่งกำเนิดมลพิษไม่อยู่ภายใต้รัฐบาลเมียนมาโดยตรง แต่เป็นกองกำลังติดอาวุธในพื้นที่ วันนี้ (27 พ.ค. 2568) นายสุรชัย ตรงงาม เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)) ให้สัมภาษณ์ #เก็บตกจากวชิรวิทย์ เกี่ยวกับสถานการณ์การปนเปื้อนของสารพิษในแม่น้ำกกและแม่น้ำสายว่า แม้ประเทศไทยจะมีกลไกทางกฎหมายที่สามารถใช้จัดการปัญหามลพิษในพื้นที่ได้ในระดับหนึ่ง แต่การแก้ไขที่แหล่งกำเนิด ซึ่งอยู่นอกเขตแดนประเทศไทย กลับเป็นประเด็นซับซ้อนที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ และยังไม่มีความชัดเจนถึงแนวทางในการดำเนินการ เสนอใช้กลไกกฎหมายในประเทศ  จัดการเฉพาะหน้า นายสุรชัยกล่าวว่า การประกาศ “เขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อม” เป็นหนึ่งในมาตรการที่รัฐสามารถใช้ได้ เพื่อเอื้อต่อการออกข้อบังคับหรือแนวทางจัดการในพื้นที่ที่มีปัญหาอย่างเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้จะมีผลมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่...

แนะประกาศ "พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม" จัดการวิกฤตน้ำกก-น้ำสาย

รูปภาพ
ชี้ช่องกฎหมาย ช่วยรัฐสามารถออกข้อกำหนดห้ามใช้น้ำบริเวณปนเปื้อน ย้ายประชาชนออกจากจุดเสี่ยง และใช้งบประมาณป้องกันความเสียหาย พร้อมเห็นด้วยสร้างฝายดักตะกอน ขณะที่ยังต้องเจรจากับเมียนมาผ่านเวทีอาเซียนเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นตอควบคู่กัน​​​​​​​​​​​​​​​​   วันที่ 26 พ.ค. 2568  ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ให้สัมภาษณ์ #เก็บตกจากวชิรวิทย์ ถึงแนวทางทางกฎหมายในการรับมือปัญหามลพิษสารหนูและตะกั่วในแม่น้ำสายและแม่น้ำกก ที่เชื่อมโยงกับการทำเหมืองทองคำในฝั่งรัฐฉาน ประเทศเมียนมา   โดยบอกว่าการประกาศเขตควบคุมมลพิษตามกฎหมายไทยไม่สามารถใช้ได้ในกรณีนี้ เพราะแหล่งกำเนิดมลพิษอยู่ต่างประเทศ “ถ้าใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ประกาศเขตควบคุมมลพิษไม่ได้แน่นอน เพราะตามหลักต้องควบคุมที่แหล่งกำเนิด ซึ่งในกรณีนี้อยู่ต่างประเทศ เราไม่มีอำนาจจัดการโดยตรง” ดร.สนธิ อธิบาย ใช้มาตรการ  “พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม” แทนได้ แต่ต้องมีแผนชัดเจน ดร.สนธิชี้ว่า เครื่องมือทางกฎหมายที่ไทยสามารถใช้ได้จริงในฝั่งของตัวเอง คือ  การประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม...

“คลินิกชุมชนอบอุ่น” เสนอแยกงบ OP Refer แก้ปมใบส่งตัว แต่ สปสช.ค้าน

รูปภาพ
คลินิกชุมชนอบอุ่น เสน แยกงบ OP Refer แก้ปัญหาใบส่งตัว กทม.  แต่  สปสช .ไม่เห็นด้วย ชี้ทำให้ระบบขาดความเป็นเครือข่าย เสี่ยงส่งต่อผู้ป่วยเกินจำเป็น ขณะที่ นักวิจัย สธ. เสนอ “แฮมเบอร์เกอร์โมเดล” แก้ปัญหาการจ่ายเงินคลินิกไม่เป็นธรรม ชงผู้ว่าฯ กทม. นั่งประธาน อปสข. ด้าน รองฯทวิดา ​ ชี้ระบบเปลี่ยนบ่อย  แบกภาระเกินกำลัง เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2568 ที่งานเสวนา “ ทิศทางการดำเนินงานระบบบัตรทองในปัจจุบันและอนาคต” นางศรินทร   สนธิศิริกฤตย์ เจ้าของคลินิกเวชกรรมอารีรักษ์ และสมาชิกสมาคมคลินิกชุมชนอบอุ่น ให้สัมภาษณ์ #เก็บตกจากวชิรวิทย์ ถึงปัญหาการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเสนอว่า ระบบส่งต่อผู้ป่วยนอก (OP Refer) ในเขต กทม. ควรถูกแยกออกจากงบประมาณบริการปฐมภูมิ (OP ปฐมภูมิ) เพื่อคลินกไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเมื่อต้องส่งต่อคนไข้ไปโรงพยาบาล “คลินิกส่งต่อผู้ป่วยด้วยเจตนาบริสุทธิ์ เพราะไม่สามารถรักษาโรคซับซ้อนได้ เช่น โรคหัวใจ แต่สุดท้ายสิ่งที่โรงพยาบาลส่งกลับมากลับเป็นผู้ป่วยที่เพียงปวดหัวหรือแผลเล็ก ๆ ซึ่งคลินิกสามารถดูแลได้เอง” นางศรินทร ยอมรับว่า เมื่อ...